3 วันของ DataRockie Mini Bootcamp 2025 เรียนอะไรบ้าง?

Learning Apr 18, 2025

มี Mini Bootcamp ของแอดทอย รู้วันนี้ ลงวันนี้ เรียนวันนี้55555555555555555555

ครั้งแรกที่เข้ามาเรียนสดกับแอดทอย บอกเลยว่าเห็นเมลล์วันนี้ กดสมัครวันนี้ เรียนวันนี้ กับ DataRockie Mini Bootcamp 2025 ที่มีด้วยกัน 3 วันรวด กับ 3 topic ได้แก่ Mental Model, Economic Thinking และ Business Foundation

เข้าใจล่ะเรียนจนร้องขอชีวิตมันเป็นยังไง ไม่สอนเลทแต่สอนแถม คนสอนไม่ได้นอน คนเรียนก็ไม่ได้นอนเหมือนกัน555555555 ความรู้อัดแน่นและมีประโยชน์สุด ๆ

ทางเราทำสรุปบนเพจไปแล้วครึ่งนึง และกะเอาทั้งหมดมาลงในนี้ จะได้อ่านกันยาว ๆ แล้วทั้ง 3 วันมีเนื้อหาอะไรบ้าง ไปอ่านกัน

Day 1 - Mental Models | 10 March

Mental Models คือ กระบวนการคิดเรื่องใดเรื่องนึงให้เฉียบคม มาจากหนังสือที่ชื่อว่า Think Like A Freak ซึ่งเขียนโดย Steven D. Levitt และ Stephen J. Dubner เป็นนักเศรษฐศาสตร์

George Bernard Shaw ได้กล่าวไว้ว่า

Few people think more than two or three times a year

มีน้อยคนที่คิดมากกว่า 2 ถึง 3 ครั้งต่อปี เอ๊ะคนเราก็แทบจะคิดตลอดเวลาเลยนี่นา

ถ้าไม่ซ่อมรูเล็ก ๆ บนเรือ เรือจะล่มได้ฉันใด ถ้ามีรูรั่วในกระบวนการคิดของเรา มีโอกาสที่เราคิดผิดบางอย่างโดยไม่รู้ตัว ทำให้ชีวิตเดินไปผิดทางด้วย

ดังนั้นการรู้จัก Mental Models ทำให้เราคิดได้ดีขึ้น ตัดสินใจได้ดีขึ้น และเราอยู่ในจุดที่ควรจะอยู่ได้มากขึ้น

พบกับ 7 models สำคัญ หลังเรียนจบการันตีว่าตัดสินใจได้ดีขึ้นกว่าคนทั่วไป!

super thinking จาก Charlie Munger “เชื่อในเรื่องที่เราศึกษาความรู้ที่ดีที่สุด จากสิ่งที่คนอื่นเขาคิดมาแล้ว” เรียนรู้วิธีการคิดของคนเหล่านั้น ยิ่งรู้ mental model เยอะ ยิ่งตัดสินใจได้ดี

เราสามารถเอาชื่อเต็มอันนี้ไป search หาต่อได้เลย 👉 Latticework of Mental Models

สำหรับหนังสือ สองเล่มแรกเนื้อหาใกล้กันมาก เล่มสามคิดยังไงให้ไปไกลกว่าคนอื่น และทุกเล่มเมนชั่น Charlie Munger

🟡 Map is not the territory

แผนที่ไม่เหมือนแผนที่จริงตรงนั้น ก็คือไม่สะท้อนของจริงตรงนั้น

แผนที่จริงก็คือแผนที่ที่มาจากดาวเทียม ส่วนแผนที่ เช่น Google Maps ที่ลดทอนบางรายละเอียดออกไป แต่มีความใกล้เคียงกันอยู่

territory หรือ ดินแดน เป็น reality ส่วน map เป็น model

reality เช่น เรานั่งดูในไลฟ์ด้วยกัน แต่ประสบการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะ mental model ของแต่ละถูก build มาไม่เหมือนกัน

ถ้าใครมี model ใกล้เคียงกับ reality ที่สุด เป็นคนที่มีโอกาสชนะเยอะมาก

ในแต่ละแผนที่ มีเป้าหมายไม่เหมือนกัน เช่น แผนที่คนทั่วไปขึ้น กับคนขับรถไฟฟ้า ไม่เหมือนกัน และโลกจริงมีการเปลี่ยนแปลงด้วย ดังนั้นต้องการการ update ด้วย หลาย ๆ ครั้งไม่ได้สะท้อนความจริง เพราะมันเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เช่น นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทำธุรกิจตอนนี้อาจจะไม่สำเร็จก็ได้

เวลาเราลงทุน เราก็จะเลือกลงทุนจากอะไร ข้อมูลการเงินแบบไหน?

ตัวเลขตัวเดียวที่ดู คือ P/E ratio ตัว P คือ price และ E คือ earning per share เช่น ทุก ๆ รายได้ 1 เหรียญ นักลงทุนยอมจ่ายเงิน 5 เหรียญ ยิ่งสูงคือนักลงทุนยอมจ่ายเงินลงทุนเยอะ = แผนที่นักลงทุนว่าหุ้นนี้น่าซื้อไหม เป็นการใช้ system two ในการคิด

คำถามสุดท้าย คือ เราชอบหุ้นตัวนี้จริงหรือเปล่า ถ้าไม่ชอบเราอาจจะไม่ซื้อก็ได้ เป็นการใช้ system one ในการคิด

⭐ การคิดอยู่ในการตัดสินใจมีอยู่ 2 ระบบ คือ

  • system one: คิดแบบเร็ว ๆ เช่น เราชอบหุ้นนี้ไหม - เราไม่ควรใช้บ่อย
  • system two: คิดให้ช้าลง ดูตัวเลข

ทุก model ผิดหมด แต่มีประโยชน์เหมือนกัน ดังนั้นถ้าไม่มีแผนที่ชีวิตอยู่ไม่ได้เช่นกัน

🟡 First Principles Thinking

อันนี้สำคัญที่สุด

foundation ของพื้นฐานบางอย่าง ที่สามารถ build on-top สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ เช่น ทำไม apple ลูกนี้กรอบอร่อยจัง? เพราะพื้นดินต้องดีก่อน เมล็ดพันธุ์ต้องดี มีคนดูแลที่ดี มีสภาพแวดล้อมอากาศที่ดี ที่ทำให้โตและอร่อย ซึ่ง principles เขาเติม s ดังนั้นมีมากกว่า 1

แล้วหนังสือเล่มนี้ ดีไม่ดีเพราะอะไร? เวลามองหนังสือ ค่อย ๆ มองลึกลงไป เช่น แต่ละบทต้องดี พารากราฟดี ประโยคดี เลือกใช้คำที่ดี สะกดถูก และเลือกใช้ character ที่ถูกต้อง แต่สำคัญที่สุดคือ idea ว่าผู้เขียนอาจจะสื่ออะไร และ idea นี้ช่วยเปลี่ยนชีวิตเราหรือเปล่า

ดังนั้นปีนึงไม่ต้องอ่านเยอะ เลือกเล่มที่ impact กับเราจริง ๆ

ในโลกความจริง เช่น Elon Musk เขามีบริษัท Tesla ซึ่งเขาตั้ง position เป็น tech company ที่เน้นในด้าน battery เดิม battery ราคาแพงมาก 600 เหรียญ พอมาวิเคราะห์แยกส่วนประกอบว่ามีอะไรบ้าง ทำการวิจัย แล้วประกอบกลับเข้าไปใหม่ ทำให้มีราคาเพียง 80 เหรียญ และมีเป้าหมายลดต้นทุนให้เหลือ 8 เหรียญให้ราคาถูกลงเรื่อย ๆ

หรืออีกเคส SpaceX เกิดมาจากอยากซื้อจรวดจาก NASA แต่เขาขายแพง และถ้าเราสร้างเอง เราจะใช้เงินเยอะพร้อมที่ NASA ขายหรือเปล่า พอทีมวิเคราะห์แล้ว พบว่าถูกกว่าหลายเท่า เลยสร้างเอง แล้วจรวดที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง สามารถใช้ซํ้าได้ไหมนะ

ดังนั้น First Principles Thinking ของ Elon Musk คือ ถ้าแพงกว่าซื้อมาใช้ วิเคราะห์ต้นทุนว่าคุ้มไหมที่จะทำ

หรืออีกเคสที่แอดทอยชอบมาก คือ Amazon เคยสั่งหนังสือมาที่ไทยด้วยราคาถูกสุดที่ไม่มี tracking number ให้ รอแล้ววรอเล่าหนังสือที่สั่งร่วม 5,000 บาทก็ยังไม่มาสักที เลยตัดสินใจถาม customer service เขาตอบมาว่า เขาขอโทษ และส่งหนังสือที่สั่งให้ใหม่ เดี๋ยวได้ใน 2-3 วันน้า

อีกเคส คือสั่ง Pixel 5A แล้วเข้าไทยไม่ได้ เนื่องจาก กสทช ยังไม่รับรองมือถือรุ่นนี้ เลยทักไปหาที่ customer service เขาขอโทษและ refund เข้าบัตร สำเร็จภายใน 3 วัน

ดังนั้น First Principles Thinking ของ Amazon คือ ลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ ถ้าลูกค้า happy เราจะได้กำไรเอง ต้อง focus การตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก เดี๋ยวอันอื่นมันจะมาเอง มันจะ success เอง ยอมเสียเงินซํ้าเพื่อให้ลูกค้า happy ทำให้ลูกค้าซื้อซํ้า แล้วบอกต่อ

ตัวอย่างใกล้ตัว การสอนฟรีในสามวันนี้ คนเรียนไม่ได้เสียเงิน แต่คนเรียนเสียเวลามาเรียน

อีกตัวอย่าง คุณ Peter Drucker ได้กล่าวไว้ว่า เป้าหมายในการสร้างธุรกิจ คือการสร้าง และรักษาลูกค้า ดังนั้นกำไรจะกลายเป็นผลพลอยได้ของบริษัท ไม่ใช่ที่ตั้ง

อีกหนึ่งตัวอย่างเกี่ยวกับการใช้เงิน คุณ Alex Hormozi เขาเปิดยิมออกกำลังกาย มี First Principles Thinking คือ

เราจะรวย หาเงินได้เยอะ ใช้ชีวิตอย่างที่เราต้องการ ทำสองข้อนี้ได้

  1. หาเงิน 100 ใช้เงินไม่เกิน 100 → อย่าใช้เงินเกินตัว คนไทยเป็นหนี้นอกระบบ 40% ถ้าจำเปนต้องอดก็ต้องอดก่อน
  2. เก็บเงินมาลงทุนในตัวเอง ยิ่งเราเก่งขึ้นเท่าไหร่ ปัจจัยภายนอกทำร้ายเราได้น้อยลง และเพิ่ม earning capacity ให้เราจากความรู้บางอย่างที่เราเรียน

และสุดท้ายกลับมาที่ตัวเราเอง ชีวิตของเราควรพึ่งตัวเองให้ได้

ความรู้ที่อยู่รอดได้ 2000 ปี จาก Marcus Aurelius ถูกส่งต่อถึงวันนี้ ให้ focus สิ่งที่เราควบคุมได้ คือวิธีการคิดของเรา mental model, การกระทำของเรา ความคิดเปลี่ยนเป็นการกระทำ ไม่ต้องสนใจสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ คนมีพลังเหนือความคิด ไม่ใช่ปัจจัยภายนอก
เศรษฐกิจไม่ดี คนกลัวอะไร? กลัวตัวเองไม่เก่งพอ ดังนั้นเราต้องทำตัวให้เก่งขึ้น คิดและลงมือทำ ทำให้ไปไกลกว่าคนอื่น เช่น AI มาแล้ว เราต้องเรียนอะไรดี → มี skill บางอย่าง เหนือ skill บางอย่าง เราเข้าใจและปลดล็อกได้

5 skills ที่คนอยู่รอด

  • Reading: อ่านทุกวัน
  • Writing: เขียนทุกวัน
  • Focus: มี focus
  • Logic: กระบวนการคิด
  • Faith: ความเชื่อที่ถูกต้อง หรือเชื่อว่าตัวเองทำได้

attendion คือ community ที่ราคาแพงที่สุด คือเวลา

🟡 Second-order Thinking

first-order thinking ได้ในระยะสั้น

second-order thinking คิดระยะยาว what’s next มีอะไรต่อจากนั้นไหม - มองถึงผลระยะยาวของสิ่งที่เราทำตอนนี้

เช่น การลดราคาสินค้า ข้อดีคือได้ยอดขายตอนนี้ แต่ลดราคาบ่อย มีผลเสียในระยะยาว หรืออย่างกิน junk food อร่อยตอนนี้ แต่เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว อีกเคสเล่นโทรศัพท์เยอะ ๆ เกิดอะไรขึ้น คนไทยใช้เวลาเฉลี่ย 5 ชั่วโมง รูรั่วเล็ก ๆ ทำให้เรือล่มได้ คิดเป็น 2.5 เดือนต่อปี ถ้าดึงเวลามาทำกิจกรรมอื่น ๆ ให้เป็นประโยชน์ เช่น ใช้อ่านหนังสือ

สิ่งที่เราทำเวลาเราเบื่อสามารถกำหนดชีวิตเราได้ เช่น หยิบหนังสือมานั่งอ่าน ได้ reframe สมอง เป็นการเพิ่ม earning capacity อีกด้วย

🟡 Probabilistic Thinking

มองโลกไม่ใช่ขาวกับดำ แต่เป็นสีเทา สำคัญไม่แพ้ model ที่สอง ไม่มองเป็น yes กับ no มองเป็น spectrum

ความน่าจะเป็นจะมี 2 อย่าง

  • Frequentist: อาศัยความถี่ ทำซํ้า ได้ pattern
  • Subjective Belief: ความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น 10 ปีข้างหน้าประเทศเราจะเจริญไหม แต่ละคนมี mental model ในหัวต่างกัน และ estimate ตัวเลขออกมาไม่เหมือนกัน

สิ่งที่ถูก estimate สามารถเปลี่ยนได้ หรือถูก update ได้ = อัพเดตความเชื่อเดิมเป็นความเชื่อใหม่

ซึ่งทฤษฎีนี้มาจาก Bayer's Theorem

อย่างเรื่อง AGI หรือ Artificial General Intelligance ว่าจะมาหรือยัง คนมองเป็น yes, no question แล้วจะมาเมื่อไหร่ล่ะ?

computer เก่งขึ้นเรื่อย ๆ AGI กำลังเกิดขึ้น

เราจะรอดปีหน้าไหม ถ้าทำแล้วเพิ่มความน่าจะเป็นในการรอดปีหน้า ให้ทำสิ่งนั้นเยอะ ๆ

เช่น เล่น TikTok ดึงความน่าจะเป็นในการรอดปีหน้าออกไป ถ้าใช้ TikTok ก็เป็นอีกเรื่องนึง

🟡 Inversion Thinking

flip โลกเพื่อมองอีกด้าน เราอาจจะเห็นโลกที่ไม่เหมือนเดิม

เช่น ถูกมากขึ้น หรือผิดน้อยลง ทำให้ถูกมากขึ้น ตัวอย่างสุขภาพที่ดี เพิ่มอาหารสุขภาพ หรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

อยากจะ success ต้องทำอะไร หรืออีกมุมคือไม่ควรทำอะไร

to do list ไม่สำคัญเท่า not to do lists เช่น ไม่เล่น TikTok, ไม่ซื้อหนังสือเพิ่มกองดอง

ส่วนเรื่องอิสรภาพ อิสระที่เกิดขึ้นจะอยู่ในกรอบ freedon of excellence ทำเพื่อพัฒนาตัวเองเป็น version ที่ดีที่สุด ดังนั้น focus สิ่งที่เราควรทำ ไม่ใช่สิ่งที่อยากทำ เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัด และสิ่งที่เราทำตอนเราเบื่อ เป็นลิขิตชีวิตเราตอนนี้

🟡 Circle of competence

มาจาก Warren Buffett

ให้เราค้นหา และสร้างวงกลม หากรอบตรงนี้ให้เจอ ใช้ชีวิตในกรอบให้แข็งแกร่ง อย่าไปแตะวงกลมที่เราไม่เข้าใจ ให้ขยายวงกลมของเราเพื่อเข้าใจโลกนี้ได้ดีขึ้น เพราะโอกาสที่พังจะสูง เพราะ operate ในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ

ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ เราหยุดเรียนรู้ไม่ได้ หน้าที่ของเราคือ update mental model ของเราไปเรื่อย ๆ

อย่าไปเสนอความเห็นกับเรื่องที่เราไม่เข้าใจ หรือแนวคิดตรงกันข้ามกับเราที่เราไม่เข้าใจ

🟡 Statistics as a Mental Model

Statistics = mental model ที่ทำให้เราเข้าใจโลกนี้ได้ดีขึ้น

เช่น ถ้าเราซื้อหุ้น เรามี complete information ก่อนกดซื้อหุ้นตัวนั้น

การตัดสินใจ base on sample data เราเข้าถึงข้อมูลบางส่วน จึง sample data ออกมาดู ถ้าสุ่มด้วยความน่าจะเป็นกับ data หลาย ๆ source และการ generaliaztion เราอยากเข้าใจ population generate กลับไปที่ population ที่เราสนใจ เรียกกระบวนการนี้ว่า inductive reasoning

เวลาตัดสินใจ ใช้สองอันนี้ควบคู่กัน

  • กฏบางอย่างที่มันเป็นจริงเสมอ เช่น แรงโน้มถ่วงทำงานเหมือนกัน - mental model applied event ที่อยู่ตรงหน้าเรา
  • เรียนจาก event ที่อยู่ตรงหน้าเรา สรุปผลกลับไปหาประชากรใหญ่

เรื่องที่ยาก point คือเราไม่จำเป็นต้องมีข้อมูล complete แต่ make great การตัดสินใจได้

ต้องมี 3 อย่าง

  • มี great mental model เข้าใจ 1st principle โลกเป็นสีเทา แผนที่ไม่ใช่ prehistory
  • ใช้ data ตรงหน้ามา update mental model
  • เปลี่ยนมันให้กลายเป็นผลลัพธ์บางอย่าง คิดอย่างมี logic

วันนี้เรียนอะไร

ตัวไลฟ์ย้อนหลังวันแรก

https://www.youtube.com/watch?v=K_IWZsoZ74w

Day 2 - Economic Thinking | 11 March

วันนี้เราจะได้เรียนเศรษฐศาสตร์รางวัล nobel price เลยน้า ถ้าไม่ได้เรียนด้านนี้โดยตรงเราอาจจะไม่ได้เรียนเรื่องนี้ 🤔

วิชานี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่แอดทอยชอบมาก ซึ่งแอดทอยจบเศรษฐศาสตร์มา แล้วต่อโทที่อังกฤษ สาขา Food Economic

Food Economic คือทำยังไงให้คนมีข้าวกิน วางแผน roadmap ประเทศยังไงไม่ให้พึ่งต่างชาติมากเกินไป และสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง

วันนี้เป็นการอธิบายเศรษฐศาสตร์แบบแค่บวก ลบ คูณ หาร ไม่ต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์มาก เพื่อให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น ด้วย 14 model

ตัวอย่างจากคุณ Naval Ravikant ถ้าวันนี้อยากอยู่รอดได้ในอนาคต คนคนนึงต้องรู้ศาสตร์เหล่านี้ เช่น microeconomics, game theory, psychology เป็นหลายศาสตร์ผสมผสานกันในเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ทำความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของคน ว่าตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัดนี้ได้ยังไง ดังนั้นมันก็เป็น Mental Model เหมือนกัน

เศรษฐศาสตร์แบ่งเป็น 2 สาขาย่อย คือ

  • Microeconomics: การศึกษาเกี่ยวกับ individual หรือรายบุคคล อาจจะเป็นมนุษย์คนนึง หรือ firm อันหนึ่ง เป็นหน่วยเล็ก ๆ ในระบบเศรษฐกิจ
  • Macroeconomics: เป็นภาพใหญ่ เป็นการศึกษาระดับประเทศขึ้นไป

🟡 Scarcity

เศรษฐศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของคนคนนึง ความต้องการของคนไม่จำกัด แต่มีทรัพยากรจำกัด ถ้าควบคุมความต้องการเราได้ ชีวิตเรามีความสุขมากขึ้นได้

บางครั้งไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ใช้ concept นี้ให้มีจำกัด เพื่อตั้งราคาให้สูงขึ้น เช่น

  • ซื้อแล้วเรียนได้ตลอดชีวิต = ดองคอร์สตลอดไป
  • มี scene of urgency เช่น ถ้าไม่ซื้อภายในราคาโปร จะไม่ได้ของแถม
  • เหลือโปรนี้แค่ 10 ที่เท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีจำกัดจริง

need, want, demand ต่างกันยังไง?

  • need: ความจำเป็น basic requirement ให้คนสามารถอยู่รอดได้ อย่างปัจจัย 4
  • want: แต่ละคนต้องการไม่เหมือนกัน เช่น อยากกินบะหมี่ ข้าวกระเพรา ใด ๆ ค่อนข้าง subjective และ personal รวมถึง culture ของคนประเทศนั้น ๆ → marketing ขายของที่ทุกคนอยากจะใช้
  • demand: want ที่มีเงินพร้อมจ่าย อยากได้ของสิ่งนั้นต้องมีเงินซื้อด้วย → marketing focus ตรงนี้ด้วย - demand generation

เช่น Samsung สร้าง demand อยากให้คนอยากได้โทรศัพท์ และเจาะกลุ่มต่าง ๆ

🟡 Opportunity Cost

เป็น mental model ที่เป็น fundamental ของวิชาเศรษฐศาสตร์

ค่าเสียโอกาส = มูลค่าของ option บางอย่างที่เราไม่ได้ทำ เมื่อเราตัดสินใจ เช่น

  • Job Interview เรารับงานนี้ อาจจะไม่ได้นอนที่บ้านก็ได้ บางที่ได้รับ offer อาจจะไม่คุ้มกับเวลาของเรา
  • เรียนต่อต่างประเทศ มีต้นทุนเยอะมาก benefit บางอย่างเกิดขึ้นในอนาคต เป็น long-term อย่างมีวุฒิปริญญาโท ได้เอาไปเพิ่มรายได้ แต่ cost บางอย่างอาจจะเกิดขึ้นในวันนี้ ถ้าลาออกไปเรียนต่อ จะมีค่าเสียโอกาสที่วัดเป็นตัวเงินได้ และวัดเป็นตัวเงินไม่ได้ เช่น ไม่ได้เจอครอบครัว

finance cost ≠ economic cost

finance cost ดูตัวเลขที่ลงในบัญชีได้ แต่ economic cost จะรวมค่าเสียโอกาสด้วย

การสร้างตึก มีต้นทุนอะไรที่มองไม่เห็นบ้าง?

externality คือ side effect จากสิ่งนั้น ๆ จะเป็นเชิงบวก หรือเชิงลบก็ได้ (ส่วนใหญ่มักเป็นเชิงลบ) เช่น

  • เชิงลบ ผลกระทบต่อเพื่อนบ้าน อย่างเรื่องเสียงดัง ฝุ่น พวกนี้มีต้นทุนเหมือนกัน รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ทำพังด้วย
  • เชิงบวก ทำถนนใหม่หน้าบ้าน และปลูกต้นไม้สีเขียวมากขึ้น

โลกร้อน กรุงเทพมีโอกาสจมนํ้าได้ เพราะแต่ละประเทศเน้น GDP growth มากขึ้นก็ใช้ทรัพยากรมากขึ้นตามไปด้วย และกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

free rider คือ มีคนช่วยให้โลกดีขึ้น แต่ไม่ช่วยทำอะไรเลย ในทางเศรษฐศาสตร์ใช้ insentive เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมคน เช่น feedback form พอทำเสร็จแล้วมี slide แจก ทำให้คนตอบมากขึ้น

🟡 Production Possibility

สมมุติประเทศผลิตได้แค่ 2 อย่าง มีเส้นโค้ง ๆ คือ production possibility frontier หรือ PPC production possibility curve ทุกจุดในเส้นเราจะผลิตตรงไหนก็ได้

ถ้าผลิต apple มากขึ้น ก็จะเสียกล้วย เพราะ resource ที่ใช้ในการปลูกมีจำกัด มีการ trade off กันอยู่

ในรูปนี้ จุดที่ไม่สามารถไปได้ คือ จุด D เพราะ A B C จะใช้ทรัพยากรได้ไม่เต็มที่

ทำยังไงให้ไปถึงจุด D

ได้? ขยายให้สูงขึ้น ต้องมี capital มากขึ้น

capital มีหลายแบบ เช่น

  • ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ที่ดิน นํ้า นํ้ามัน ป่า
  • physical อย่างพวก infrastructure
  • คน ในเรื่องการศึกษา และชีวิตความเป็นอยู่
  • เงินทุน
  • เทคโนโลยี ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ

สรุป ประเทศเจริญได้ ต้องมี capital ก่อน put capacity ให้สูงขึ้น

คือ เก่งเรื่องไหน ควรทำเรื่องนั้น หรือ focus ที่จุดนั้นเยอะ ๆ นอกจากคนแล้ว ประเทศก็เช่นกัน เช่น แผนกในบริษัท = devision of labor ตามที่ Adam Smith บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ wealth of nations

เช่น เราผลิต apple

เก่งมาก คุยกับประเทศที่ผลิตกล้วยเก่งมาก เอามา trade กับประเทศอื่น

การ trade ทำให้ประเทศเจริญขึ้น ทำให้มีการเปิดประเทศ ทุกประเทศเชื่อมโยงกัน ส่งต่อข้อมูลได้ง่ายขึ้น

หลังจากเปิดประเทศ ดีหรือไม่ดี? อาจจะมีทั้งผลดี และผลเสีย มีการ trade off กัน

DEFA agreement จะเกิดใน 2030 เป็นการเปิดประเทศให้ประเทศ SEA ถือ passport ทำงานในไทยได้เลย ไม่ต้องทำ work premit อาจจะทำให้คนจาก SEA เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แล้วไทยได้ประโยชน์หรือไม่ 🤔

ถ้าประเทศพึ่งพาการ trade หรือ พึ่งพาภายนอกเยอะเกินไป ก็จะแย่

🟡 Rationality

ความคิดแบบมีเหตุมีผล เป็น core assumpion ของทางเศรษศาสตร์ เช่น ขึ้นดอกเบื้ยเงินฝากมากขึ้น คนอยากฝากเงินมากขึ้น

  • คนตัดสินใจมีเหตุมีผล
  • firm อยากทำธุรกิจให้มีกำไร คนอยากลงทุนให้งอกเงย
  • อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น
  • มีแรงจูงใจในการทำสิ่งนั้น

เมื่อ 20 ปีที่แล้วทฤษฑีนี้ได้สั่นคลอน เป็นทฤษฎีรางวัลโนเบล ของ Daniel Kahneman ขื่อว่า The Prospect Theory เอาศาสตร์จิตวิทยา รวมกับเศรษศาสตร์ เพราะการตัดสินใจของเราไม่ได้ rational ขนาดนั้น

เช่น ไปเที่ยว casino ไปเจอตู้ gambling จะเลือก option ไหน ถ้าได้เงิน คนส่วนใหญ่เลือก option A เอาชัวร์

ถ้าเสียเงิน จะเลือก option B เสี่ยงดวงว่าจะเสียเงินไหม

การเผชิญความเสี่ยง หรือความไม่แน่นอน เราไม่ได้ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลเสมอ เริ่มตัดสินยาก คนส่วนใหญ่ sensitive กับการเสียมากกว่า

ออกมาเป็นกราฟนี้ ได้เงิน 100 เหรียญ ดีใจ ความรู้สึกไม่เท่าความรู้สึกเสียเงิน 100 เหรียญ คนส่วนใหญ่ไม่ชอบเสีย

นักการตลาดใช้ทฤษฎีนี้ ให้พูดข้อดีของ product ให้น่าดึงดูด

สรุปหลายครั้งเราไม่ได้ Rationality ตลอดเวลา เข้าใจการตัดสินใจของมนุษย์มากขึ้น

🟡 Marginal Analysis

highlight of this session แก่นของการทำเศรษฐศาสตร์

context มีผลต่อการตัดสินใจ เช่น อยู่ที่สวิต อุณหภูมิ -5 จะเลือกอะไร ระหว่างกาแฟร้อน หรือ โคล่าเย็น ๆ คนส่วนใหญ่เลือกกาแฟร้อน

ความพอใจในการบริโภค ไม่รู้ว่า limit อยู่แค่ไหน

Marginal Analysis คือ ณ moment นั้น อันไหนให้ความพอใจมากกว่า ใน cost เท่ากัน เลือกอันนั้น เช่น อากาศเย็น จะซื้อเครื่องดื่มราคา 3$ เลือกกาแฟร้อน หรือ โคล่าเย็น ๆ

เน้น incremental หรือ unit ถัดไปที่เรากำลังจะทำ เช่น เรียนจบไลฟ์นี้ทำอะไรต่อ คือ อะไรคือ best option ที่เราอยากทำ

ถ้า cost ไม่ค่อยคุ้ม คือได้ value น้อยกว่า cost ที่เราจ่ายออกไป แล้วจะทำยังไงดี เช่น เลือกเมนูอื่น กดนํ้าเปล่ากิน ไม่กินแล้วแพง ดังนั้นมีเรื่องต้นทุนมาเกี่ยวข้อง ว่าอะไรได้ value มากที่สุด

เข้าใจแล้วแก้ไขอันนี้ได้ นํ้าสำคัญต่อร่างกาย ทำไมราคาถูกกว่าเพชรที่ไม่ได้มีประโยชน์ต่อชีวิต ขึ้นกับ context ในเวลานั้นด้วย เช่นติดในทะเลทราย นํ้ามีค่ามากกว่าเพชร ขอเจ้าสาวแต่งงาน เพชรมีค่า

ดังนั้นการตัดสินใจเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามหมากในกระดาน

🟡 Demand vs. Supply

Demand คือ ความต้องการซื้อ เกิดจาก customer

ถ้าวาดเป็นกราฟ จะเป็นเส้น slope เป็นลบ

ถ้าสินค้าราคาแพง คนไม่อยากซื้อ ถ้าราคายิ่งตํ่าลง คนก็ซื้อมากขึ้น

Supply คือ ความต้องการขาย เกิดจาก producer หรือผู้ผลิต

ถ้าวาดเป็นกราฟ จะเป็นเส้น slope เป็นบวก

ราคาสูงขึ้น คนขายก็อยากจะขายมากขึ้น

เมื่อเอา demand และ supply มาชนกัน ผู้ซื้อผู้ขายตกลงราคากันได้ เป็นจุด equilibrium มี p* price และ q* qualtity มี * คือเป็นจุดดุลภาพ

ถ้าราคาไม่อยู่ในจุดดุลภาพ ราคาสูงขึ้น คนขายอยากขายมากขึ้น คนซื้ออยากซื้อน้อยลง เช่น อยากขาย 10 คนพร้อมซื้อ 3 ค้าง stock 7 แล้วจะทำยังไง ให้ขายออกได้เยอะขึ้น ก็คือลดราคา ให้คนอยากซื้อมากขึ้น ราคาเข้าสู่จุดดุลภาพมากขึ้น

ถ้าราคาตํ่ากว่าราคาตลาด คนแห่ซื้อ แต่ผลิตไม่ทัน อาจจะปรับราคาเพิ่มขึ้น

กลไกตลาดในการปรับราคาเข้าสู้จุดดุลภาพให้มากขึ้น เรียกว่า Invisible Hand หรือมือที่มองไม่เห็น นั่นเอง

สรุป

  • demand และ supply เกิดจากมนุษย์ในตลาดนั้น
  • demand > supply: producer เพิ่มราคาได้
  • supply > demand: ต้องลดราคา

🟡 Elasticity & Total Revenue

คือการปรับความยืดหยุ่นในการซื้อขาย ถ้าเปลี่ยนราคา 1% จะมีการซื้อขายเพิ่มขึ้นลดลงเท่าไหร่

สูตรการคำนวณ Total Revenue: P คือ price ส่วน Q คือ quantity

👨‍🏫
TR = P x Q

จากรูปนี้พบว่า พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า คือ total revenue

ถ้าเพิ่มพื้นที่ จะต้องลดราคา

ดังนั้นการลดราคา แบรนด์สร้างรายได้ได้มากขึ้น สังเกตว่าพื้นที่สีเขียวมากกว่าสีแดง

ถ้าจุดตรงนี้ ต้องเพิ่มราคา ทำให้ total revenue มีมากขึ้น

จริง ๆ Total Revenue มี 2 แบบ คือ

  • Elastic Region: ความยืดหยุ่นช่วงบน ลดราคา ยืดหยุ่นสูง
  • Inelastic Region: ความยืดหยุ่นช่วงล่าง ขึ้นราคา ยืดหยุ่นตํ่า

ทั้งคู่เพิ่ม Total Revenue เหมือนกัน

สินค้าเราอยู่ในจุด elastic หรือ inelastic สามารถดูได้ด้วย data

🟡 Short vs. Long Run Thinking

วิชาเศรษฐศาสตร์เริ่มยากด้วย 2 เหตุผล

  • การตัดสินใจมนุษย์นั้นซับซ้อน
  • second order thinking การคิด long-term มากขึ้น ซึ่งเศรษฐศาสตร์จะคิดเป็น long-term
นโยบายทางศรษฐศาสตร์ต้องมีทั้ง short-run ระยะสั้น และ long-run ระยะยาว

ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly Market) เช่น telecom อย่างสมัยก่อน dtec, ais, true เราจะไม่สู้ด้วยราคา แต่จะสู้ด้วยเรื่องอื่นแทน เช่น สู้เรื่อง esrvice, โปรเสริม, สัญญาณโทรศัพท์, privilage

เมื่อลดราคาไปในระยะเวลานึง จนราคาเท่ากันแล้ว จะสนใจเรื่องอื่นแทน

ถ้าแข่งกันลดราคา เกิด price war จะเจ็บหมด

ดังนั้นต้องคิดระยะสั้นและระยะยาวคู่กันเสนอ

อีกตัวอย่าง ถ้าเรามีกำไร มีคนขายไก่ทอดแล้วขายดี สักพักมีคนเปิดขายแข่งกันเรา คือ profit ดึงดูดผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดด้วย ทำให้เรา profit เราน้อยลง เพราะไปซื้อกับผู้แข่ง

ทำให้เกิด supply มากขึ้น ราคาลดลง กำไรน้อยลงจนไม่มี หรือคนเก่าต้องมีการกีดกันทางการค้านิดนึง เช่น จด IP ในรูปกราฟเส้น S1 จะถูก shift ไปทางขวา เป็นเส้น S2

🟡 No Free Lunch

ทุกอย่างในโลกนี้ มีราคาที่ต้องจ่าย มีต้นทุน และเป็น consequence กัน เช่น มาเรียนฟรีวันนี้ จ่ายด้วยค่าเน็ต และเวลา

🟡 The Attention Economy

สิ่งที่แพงที่สุด ไม่ใช่นํ้ามัน ไม่ใช่ data ไม่ใช่ AI แต่เป็น attention ของเรา

เราอยู่ในยุคนี้ focus ที่เวลา และ attention ที่ทุกคนจ่ายในตอนนี้ ใหญ่กว่าเวลา

community ที่แพงที่สุด คือ attention ที่ไหนมีเยอะ ที่นั่นมี value เยอะ

สมัยก่อน information เข้าถึงได้ยาก เดี๋ยวนี้เข้าถึงได้ง่ายด้วยโลก internet ยิ่ง information เยอะขึ้นเท่าไหร่ ก็สร้างปัญหาอื่นตามมา ทุกสิ่งมีราคาที่ต้องจ่าย ทำให้ attention เราลดลง ปัญหาคือเราจะ allocate ยังไงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่ที่หาข้อมูล เป็นที่ที่ consume เอา attention ของเราไป

อะไรกำลังขาดแคลนมาก ๆ ราคาสูงขึ้น ดังนั้นเราอยู่ใน platform ได้นานเท่าไหร่ เขาจะได้รายได้มากขึ้นเท่านั้น

CPM ทุก ๆ 1000 คน แพงขึ้น จาก $5.75 ในปี 2018 เป็น $10 ในปี 2021

บน Facebook ก็เช่นกัน คนติดตามเพจ แต่คนเห็น content ของเพจน้อยลง (สาเหตุก็ครือออ Facebook ใช้ AI ในการ suggest content ที่เราน่าจะชอบ จากปกติที่ feed จากเพจที่เราติดตามนี่แหละ เพราะเรื่องเกี่ยวกับการเมืองในเมกา อ่านเกี่ยวกับ algorithm ได้ที่นี่เลย)

concept ที่บอกว่า human attention คือ scarce resource หน้าที่คือ capture และ hold attention ของคน เพื่อเอาไปสร้าง value ต่อ

แอดทอยมองว่า time, attention และ your life เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะคนควบคุมเวลาไม่ได้ แต่เวลาเดินไปข้างหน้าเสมอ ดังนั้นเราจะต้องจัดการ attention

อันนี้เราขอแอบเล่าเพิ่มจากประสบการณ์ที่เคยทำแอพประมาณ social network มันมีสถิติคนใช้ internet ใช่ป่ะ พอหักลบปุ๊ปอ่ะเขาจะเหลือประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน เราก็ต้องแย่งเวลาตรงนี้จากแอพอื่น ๆ ให้เขามาใช้และติดแอพเรา แฮร่

🟡 Game Theory

คือ ทฤษฎีเกมส์ เป็นทฤษฎีที่ได้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1994 เป็น concept สำคัญ คิดว่าเรากำลังเล่นเกมส์อะไร เราต้องคิดว่าฝั่งตรงข้ามเราจะลงตรงไหน และเรารับมือกับมันยังไง เป็นการคิดในมุมคู่แข่ง และรับมือกับมันยังไง

เป็นการศึกษาในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์สถานการณ์

ถ้าเราเข้าใจ Game Theory = นักกลยุทธ์ที่เก่งมาก

  • player
  • strategies
  • payoffs: เราทำแบบนี้ เราจะได้อะไรบ้าง เขาจะเสียอะไรบ้าง หรือ
  • rationality: เราได้มากสุด เขาเสียมากสุด หรือ เขาได้มากสุด เราเสียมากสุด
  • equilibrium: ผู้เล่นตัดสินใจร่วมกัน

The Prisoner's Dilemma อย่างนักโทษโดนจับแยกห้อง มีทางเลือกสองทาง คือ ยอมรับผิด หรือเงียบไว้

  • ต่างคนต่างยอมรับ ติดคุกคนละ 5 ปี (-5, -5)
  • A ยอมรับ แต่ B เงียบ B ติดคุก 10 ปี (0, -10)
  • A เงียบ แต่ B ยอมรับ A ติดคุก 10 ปี (-10, 0)
  • ต่างคนต่างเงียบ ติดคุกคนละ 1 ปี (-1, -1)

โดยค่าจะเป็น (A, B) ซึ่งทางเลือกที่ดูจะดีที่สุด คือ (-1, -1) เงียบทั้งคู่ แต่ในความจริงเราทำแบบนั้นไม่ได้

ในมุม player A คิดว่า player B ยอมรับผิด จะเลือกทางไหนดี ซึ่งยอมรับผิดด้วยคุ้มกว่า

ในมุม player B คิดว่า player A ยอมรับ เลยเลือกยอมรับคุ้มกว่า และถ้าคิดว่า player A เงียบ เลยเลือกยอมรับคุ้มสุด

สรุปทั้งสองคน confess ทั้งคู่ best option ทำไมไม่เลือก silent เพราะไม่มีสัจจะในหมู่โจร

🟡 GDP

จริง ๆ มันมี 2 concept ในการวัด เป็น macroeconomic ในระดับประเทศเช่นกัน คือ

  • GDP (Gross Domestic Product): รายได้ที่เกิดในประเทศไทยอย่างเดียว
  • GNP (Gross National Product): รายได้ของคนไทย ที่อยู่ประเทศไหนก็ไดเในโลกใบนี้ อันนี้วัดยาก เลยไม่ค่อยดูกัน

ดังนั้น GDP คือ รายได้มวลรวมประชาชาติ คือมูลค่าของสินค้าและบริการทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนไทยในประเทศไทย

สูตรการคิด GDP คือผลรวมของราคา คูณด้วยปริมาณ

🗒️
GDP = SUM(P x Q)

เช่นประเทศนี้ผลิตไก่อย่างเดียว ก็จับมาคูณกันได้เลย

ถ้าประเทศนี้ผลิต apple และข้าวโพดเพิ่มล่ะ ก็เอาแต่ละอันมาคูณกัน แล้วเอาทั้งหมดมารวมกัน

ถ้าราคาไก่เพิ่ม GDP ก็ต้องเพิ่มขึ้นด้วย แล้วดีไหม? ไม่ค่อยดี เพราะราคาสินค้าสูงขึ้น ดังนั้นไม่ได้บอกว่าประเทศนี้เจริญขึ้นไหม

GDP วัดได้สองแบบ

  • Nominal GDP: ใช้ราคาปีนั้น วัดเป็นตัวเงิน - โตด้วยเงินเฝ้อ โตด้วยราคา
  • Real GDP: หาปีฐาน โดยใช้ราคาสินค้าของปีฐาน ในการคำนวณ - สินค้าในประเทศมากขึ้น คนไทยได้กินมากขึ้น

🟡 Purchasing Power Parity

หรือ PPP เป็น concept ประมาณว่า สินค้าที่ขายในประเทศเมกา ควรมาขายไทยในราคาใกล้กัน หรือสะท้อนกับค่าครองชีพ อัตราแลกเปลี่ยนในประเทศนั้น ๆ

เช่น ซื้อ online course ราคา base on location คนไทยจะได้ราคาที่ถูกกว่าคนเมกา แต่ถ้าคนไทยในประเทศอื่นอยากได้ราคานี้ ก็อาจจะมุด VPN เอา

สรุป:

mental model ทำให้เราคิดได้อย่างเฉียบขาด อุดรูรั่วในการคิดแล้ว การเข้าใจเศรษฐศาสตร์ก็เป็นวิธีนึงการอุดรูรั่วเช่นกัน

ตัวไลฟ์ย้อนหลังวันที่ 2

https://www.youtube.com/watch?v=_64Rbgx5mMY

Day 3 - Business Foundation (How to Grow a [Small + One Person] Business) | 12 March

first principles

  • The More You Learn, The More You Earn.
  • It's not what to learn, but HOW to learn effectively

อ่านหนังสือเร็วกว่าฟัง การลงมือทำเร็วกว่าดู ดังน้ันดูไลฟ์จบแล้วเอาความรู้ไปใช้งานจริง

อยากเป็นสิ่งไหน ให้ลงมือทำเยอะ ๆ

เรียนอะไรไม่สำคัญเท่าเรียนอย่างไร?

เนื้อหา recap 2 วันก่อนหน้านี้ แบ่งเป็น 2 หัวข้อย่อยคือ

Learning Model

mental model ได้บอกว่ากระบวนการคิดสำคัญกว่าวิชาที่เรียน

จากที่เรียนไม่เป็น กลายเป็นคนที่มีกระบวนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ กับ 5 learning model

🟡 Minimum Viable Skills

ขั้นตํ่าที่ต้องรู้ในศาสตร์นั้น ๆ เช่น ภาษาอังกฤษรู้ประมาณ 500 - 1000 คำ เพื่อเอาตัวรอดได้ อันนี้เป็น skill level 25%

🟡 Don’t Stop Until You’re Competent

ห้ามหยุด ทำให้ดีขึ้น

ถ้าไป competency level ที่เป็น skill level 80% as say magic number เนี่ย เป็นการยกจากขั้นตํ่า skill level 25% ให้ดีขึ้น ในการใช้ชีวิตประจำวัน เรียน สอบ ทำงานส่งอาจารย์ จนเรียนจบ

🟡 Beware of Diminishing Return

คือการใส่ input มาก ได้ output ที่น้อยลงเรื่อย ๆ

diminishing return คือถ้าจากจุด A ไป B ไม่คุ้ม เช่น เรามี skill level 80% แล้ว อยากไป 90% แต่ใช้เวลาเท่ากับเริ่มจาก 0 เลย เป็นการใส่ input มาก และได้ output ที่น้อยลงเรื่อย ๆ

พอถึงจุดนึงเราจะเริ่มเบื่อ ดังนั้นจะต้องเพิ่มความยากเข้าไปเรื่อย ๆ ด้วย

Marginal Analysis: วิเคราะห์ input ชั่วโมงที่เราเรียน ได้ output กลับมาเท่าไหร่ พอถึงจุดนึงมันจะเริ่มไม่คุ้ม ได้น้อยลงเรื่อย ๆ น้อยกว่า cost ที่เสีย ควรจะหยุด เอาไปเรียน skill ใหม่ ๆ ดีกว่า

🟡 Skill Stacking

Pat Flynn ผู้แต่งหนังสือ “How to be better at almost everything” ได้กล่าวไว้ว่า “Skills in Combination are more powerful than individual skills” หลาย ๆ skill รวมกัน มีพลังมากกว่ามีแค่ skill เดียว

ถ้าเรายกของหนักได้ วิ่งไกลไม่ได้ เราฟิตพอไหม หรือ ยกของหนักไม่ได้ แต่วิ่งไกลได้ เราฟิตจริงไหม

ดังนั้น การออกกำลังกายควรออกกล้ามทุกมัดเท่า ๆ กัน ดีกว่า focus ที่จุดใดจุดนึง ก็เหมือนเรามีหลาย ๆ skill รวมกันในคนเดียวนั่นเอง

🟡 Expert in Learning Generalist in Skill

เป็นนักเรียนรู้ที่เก่ง ให้เราเก่งในการเรียนรู้ และรู้ในหลาย ๆ skill ไม่จำเป็นต้องเก่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เรามีความรู้ในหลาย ๆ เรื่องรวมกันได้ จึงกลายเป็นเป็ดที่แข็งแรง เย้

สรุปแผนที่ที่ใช้จริงใน 10 ปีที่แล้ว

  • เรียนขั้นตํ่าที่ต้องรู้ใน skill นั้น ๆ
  • อย่าหยุดเรียนจนกว่าทำสิ่งนั้นได้เก่งขึ้น
  • เรียนแล้วเริ่มได้ output ไม่คุ้ม ให้เปลี่ยน
  • เรียนอันอื่นต่อแล้วมา stack
  • ให้เราเก่งในการเรียนรู้ และรู้ในหลาย ๆ skill

Business Foundation

business is not skill การสร้างธุรกิจมีหลายหน่วยงาน มันคือ conbination ของหลาย ๆ skill รวมกัน และเป็นไปได้ที่ตัวคนเดียว สามารถ build business ได้

เกิดได้ที่ตัวเรามี skill นั้น ๆ ก่อน ดังนั้นไม่มี skill ที่เรียกว่า business

ส่วนประกอบต่าง ๆ ในหนึ่งธุรกิจ จะ success เมื่อ combine หลาย model เพื่อสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

มารู้จัก 3 model ที่ทำให้แผนที่ในการทำธุรกิจของเรา strong ขึ้น

แต่อย่าลืมว่า แผนที่ไม่ใช่โลกจริง อย่าลืม update ด้วย อะไรที่ work ในอดีต อาจจะไม่ work ในอนาคต

ทั้งหมดมาจากอาจารย์แอดทอย

🟡 Million Dollar Weekend

มาจาก Noah Kagan เป็นเจ้าของแอพ AppSumo.com - สร้างธุรกิจ 1 ล้านเหรียญ

เขาได้บอกว่า เราสามารถหาเงินล้านในวันเสาร์อาทิตย์

มี 5 step ด้วยกัน คือ

  1. Find a problem: เริ่มต้นจากปัญหา หาปัญหาที่เราจะแก้ให้เจอก่อน แล้ว skill ค่อยว่ากัน และปัญหานั้นต้องใหญ่พอ
  2. Create a solution: สร้าง solution
  3. Spend $0 validate your idea: ห้ามใช้เงินในการ validate idea ว่า work ก็ไปต่อ
  4. Capture attention
  5. Sales

Find a problem

เป็นการ union หรือ overlap กันระหว่าง สิ่งที่เราทำ และสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

ปัญหามีอยู่ทุกที่ เช่น คอร์สในไทยแพงกว่า udemy ทำให้ ed-tech ของไทยไม่สามารถ scale ไปนอกประเทศได้ หรือ อยากเรียนเรื่องนี้ ไม่มีใครสอน ดังนั้นสอนฟรี คน spend เวลามาเรียน

Spend $0 validate your idea

validate โดยการจ่ายเงินให้เราก่อน หรือ pre-selling เช่น จะออกหนังสือเล่มนี้ และมีคนยอมจ่าย แล้วเราค่อยทำออกมา เป็นการขาย concept แล้วให้ลูกค้าโอนเงินมา คนสนใจพร้อมจ่ายเงิน ถ้าคิดดูก่อนเขาอาจจะไม่ได้สนใจ แต่ถ้าทำมาแล้วไม่มีตลาดรองรับ ไม่มีใครซื้อ ทำให้เจ๊งได้

ดังนั้นขายก่อน สร้างของทีหลัง

Capture attention

แล้วเราจะ capture attention หรือความสนใจของคนได้ยังไง?

first principle คือต้องมี attention คนก่อน ให้คนสนใจเราก่อนไม่งั้นขายไม่ได้

ทำยังไงให้เราสนใจ ดูตาม marketing funnel เช่น มี content ดึงดูดคนเข้ามา (เห็น) → คนสนใจ content ดูจนจบ (ดู) → มีคนโอนเงินมาให้วันนั้น หลาย ๆ ธุรกิจดู conversion rate กัน

หรืออยากเพิ่ม conversion rate ให้มากขึ้น เพิ่มยอดขายให้มากขึ้น ปรับที่ตรงไหน สามารถ optimize ได้หมดเลย เช่น ทำ content ให้ดีขึ้น เป็นการเพิ่ม awareness ขึ้นมา

พอคนสนใจ content ของเรามากขึ้น ทำให้ยอดขายดีขึ้น หรือราคาขายสูงไป อาจจะปรับลดลงมา ดังนั้น awareness ปรับได้ง่ายสุด

สรุปเริ่มจาก awareness แล้วสร้าง content ต้องสื่อสารให้เป็น ดังนั้นก็สำคัญเช่นกัน

🟡 Small Business Fight Plan

how to go small business สร้างธุรกิจยังไงให้ไม่เจ๊งไปก่อน มาจาก Donald Miller

business เหมือนการขึ้นเครื่องบิน เราคาดหวังอะไร?

first principle ในการขึ้นเครื่องบิน ทุกคนคาดหวังว่าเครื่องบินลำนี้จะไม่ตกก่อน ส่วนเป้าหมายเป็น second principle

เครื่องบินบินได้เพราะ 6 element นี้

  1. Captain - Leadership: มีผู้นำ กำหนดทิศทางว่าไปทางไหนบ้าง
  2. Body - Overhead: ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าเช่าที่ ค่านํ้าค่าไฟ ค่าพนักงาน ที่ทำให้ธุรกิจเรารันต่อไปได้ optimize ให้ lead ที่สุดเท่าที่เครื่องบินบินได้
  3. Wings - Product/Service
  4. Left Engine - Marketing: ทำ marketing ให้ถูก ขายของได้เยอะขึ้น
  5. Right Engine - Sales
  6. Fuel - Cash Flow: เงินไหลเวียนในธุรกิจ คือเงินสดที่เราเก็บไว้ เก็บไว้เผื่อฉุกเฉิน 12 เดือน เช่นเงินเก็บตอนนี้ ถ้าไม่มีงานเราจะอยู่ได้กี่เดือน ถ้ายังไม่มีเงินเยอะ หาความรู้ก่อน แล้วใช้ความรู้ไปหาเงินต่อ

สรุป ธุรกิจก็เหมือนเครื่องบิน บินได้นานที่สุดอย่างปลอดภัย

🟡 The Brain Audit

มาจาก Sean D'Souza

คนมักซื้อหนังสือ marketing + sale ในเล่มเดียวกัน

การเดินทางด้วยเครื่องบินนั้น เรารอจนกระเป๋าจากสายพานให้ครบทุกใบ จึงจะกลับบ้านได้

กระเป๋า 7 ใบนี้มีอะไรบ้าง? เริ่มต้นที่ problem และตามด้วย solution เช่นผมเสีย ใช้อันนี้สิ ถ้ามีไม่ครบคนจะไม่ซื้อ

  1. Problem: จุดเริ่มต้น
  2. Solution: สิ่งที่ตามมา เช่น ผมเสีย ใช้อันนี้สิ
  3. Target Profile: persona ในเชิงการตลาด
  4. Objections: ข้อโต้แย้ง มีลูกค้าใช้จริงไหม
  5. Testimonials: ตอบ objection เพราะ brand ตอบเองคนไม่เชื่อ จึงเอาคนมาใช้มาใช้โต้แย้ง
  6. Risk Reversal: ความเสี่ยง
  7. Uniqueness: สิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น

ให้ focus ที่สองอันหลัง เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบความเสี่ยง ความไม่แน่นอน avoid มันออกไป

การจัดการความเสี่ยงให้ลูกค้า โดยประกันความเสี่ยง เช่น free trial ใช้ฟรี 14 วันแรก หรือสอนฟรีเพื่อลดความเสี่ยง แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่มาเรียนอยู่ดี เป็น pain point ของ content creator

หรือ ikea มีรับประกัน เป็น risk reversal และมีบริการช่วยประกอบ เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงมีหลายประเภท ikea address ความเสี่ยงทั้งหมด อย่างประกันเฟอร์นิเจอร์ มี detail ให้อ่าน ดังนั้นต้อง address ให้ถูกตัว

ความต่างที่ unique เราต้องสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาเอง ไม่ใช่สิ่งที่เรามี เช่น เล่าให้เข้าใจง่าย หรือการแต่งตัว และต่างต้องมีความหมายด้วย มี value มากกว่าตัวอื่น

อยากเก่งเรื่องใดทำเรื่องนั้นเยอะ ๆ

recap: สร้าง ขยาย ขายได้เยอะขึ้น / เป็นแผนที่ในโลกความจริงในทางของเราเอง

ตัวไลฟ์ย้อนหลังวันที่ 3

https://www.youtube.com/watch?v=8PdKwzAW5eU

ทั้งหมดก็จะประมาณนี้เนอะทุกคน สำหรับคนที่อยากตำ digital badge ก็จะมีแบบทดสอบให้ทำด้วยนะ ไปตำที่นี่เลย

https://bootcamp.datarockie.com/p/mini-bootcamp-2025

ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ และทุกช่องทางโดเนทกันไว้ที่นี่เลย แนะนำให้ใช้ tipme เน้อ ผ่าน promptpay ได้เต็มไม่หักจ้า

ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ มาที่ Twitter เลย บางอย่างไม่มีในบล็อก และหน้าเพจนะ

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.