มา sit-in ค่าย iCreator Camp 2025 วันแรก Storytelling & Creativity

Content Creator Apr 20, 2025

เป็นรุ่นพี่เจนแรกทื่มานั่งเรียนแบบเนียน ๆ เงียบ ๆ พร้อมเนื้อหาใหม่ ๆ ด้วยน้า กับเนื้อหา week แรก Storytelling & Creativity

แถมรุ่นเจนสองเนี่ย ได้รับ assisgment ตั้งแต่ week แรกเลยด้วย

ก่อนอื่นเลย ทำไมได้มา sit-in? เนื่องจากเราเป็นชาวค่าย iCreator Camp รุ่นเจนแรก เขามีกติกาให้เลือกวันที่มา sit-in ได้ 1 วัน คือได้เรียน ได้ข้าวเท่ียง และได้ไปเม้ากับเพื่อนเจนหนึ่ง เอ๊ะ 🤣 ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะมา week 2 กันมั้ง ซึ่งทางนี้ไม่ว่างเลยมาเลือกเป็น week แรก คิดว่าน่าจะได้ content แหละมั้ง 5555555555

สำหรับคนที่หลงมาอ่านบล็อกเรา แล้วอยากรู้ว่ารุ่นแรกเป็นยังไง มาอ่านในนี้ก่อนได้ มีเขียนได้หมดแล้ว เดี๋ยวไปเติมวัน online orientation

วันสุดท้าย ที่เป็นแค่จุดเริ่มต้น กับค่าย iCreator Camp 2024
เมื่อวานนี้เป็นวันสุดท้ายของค่าย iCreator Camp 2024 แล้ว แง พบกับ 2 inspiration talk พิธีปิด และการประกาศรางวัลผู้ชนะ 10 คน อีกทั้งบล็อกนี้เล่าเรื่องราวการเป็น iCreator Camp รุ่นที่ 1 ด้วยล่ะ เผื่อใครอยากมาค่ายนี้ในปีถัดไป
https://www.mikkipastel.com/icreator-camp-2024-final-day/

สติ๊กเกอร์ที่ระลึกของชาวเจนสองดูจะปั่นมากกว่าของเจนแรกนิดนึงมั้ง ได้มาพร้อม griktok ลายดราฟแรกดีเสมอ แต่นี่ได้ตอนกินข้าว555555555555

โดยในวันแรกนั้นจะเราเข้าฟังเกือบทุก session ยกเว้น session สุดท้าย กลับก่อน แหะ ๆ

ตอนเรามาคือประมาณ 9 โมงกว่า รุ่นน้องเจนสองต่อคิวลงทะเบียนยาวเลย เราก็ว่าง ๆ มาดูกล้อง SONY ถามเขาว่ามีกล้องรุ่นใหม่หลังจากค่ายรุ่นแรกไหม หลังจาก Alpha 7C II แล้วมี Alpha ใหม่อีกรุ่น ลืมชื่อแระ เอาเป็นว่าราคาลดลงครึ่งนึง ประมาณสามหมื่นกว่า ตัว body เบากว่าครึ่งนึง function คล้าย ๆ กับตัวนั้นแหละ

และมีอีกรุ่นในงาน ZV E10 II ประมาณสองหมื่นกว่า ตัวนี้น่าสนใจ เหมาะกับสาย content creator แล้วในงานเขาเอารุ่นนี้แหละ มาตั้งไว้แบบนี้ ใช้ขาตั้งกล้อง ต่อจาก usb type c จากตัวกล้อง และจบด้วย HDMI ที่ตัวส่งสัญญาณ ต่อออกทีวี เอาไปใช้ไลฟ์อะไรใด ๆ ได้

ในห้อง MC ก็จะมีแจ้งรายละเอียด เขามาตอนรางวัลพิเศษของปีนี้ ที่เพิ่มจากปีที่แล้ว

มีกิจกรรมที่เริ่มจะ networking วันแรกเลย เขียน postcard ถึงเพื่อนที่นั่งติดกัน และกิจกรรมนี้มีทั้ง 4 week เลย และมี MC แยกสำหรับกิจกรรมเกมส์ทีเผลอด้วย

agenda วันนี้

และก็มีเปิดงาน จากคุณธเนศ จาก SONY ใจความคือ อยากให้ community ของ content creator แข็งแรง มีการแบ่งปันซึ่งกันและกัน


Thai Creators Unlocked 2025 เจาะอินไซต์วงการคอนเทนต์ และอัลกอริทึมโซเชียล

คุณเอ็ม – ขจร เจียรนัยพานิชย์ (@Khajochi)

ภาพรวม สถิติคนใช้ social network ในไทย มีการเติบโตมากขึ้นในส่วนของ TikTok และมี Lemon8 ที่เพิ่งมา เขายังไม่ได้ official ตัวเลขว่ามี user เท่าไหร่ ดังนั้นทำตอนยังไม่โต ดีที่สุด เพราะทำก่อน มาก่อน ได้ก่อน

แอพที่คน download มาที่สุดอันดับแรก คือ TikTok ที่สองเป็น Capcut แอพตัดต่อ video เพราะการตัดต่อวิดีโอเข้าถึงง่าย ทำกันเก่งหลายคน และคนโหลดแอพเหล่านี้มากกว่าแอพการเงิน (อย่างในนี้เราจะเห็น TrueMoney อยู่อันดับ 7 เลย /ไม่ได้ขายของเลยจิ้งจิ๊งงงงงง)

ประเทศไทยเป็นประเทศ social ซื้อสินค้าจาก social เป็นหลัก จากcontent ที่ creator ทำ

ภาพรวมจำนวน creator

  • จำนวน follower มีผลต่อ engagement ถ้ามีมากกว่า 5 ล้าน ทำระยะยาวได้เลย
  • 4 หมวดที่มาแรง ในปีที่แล้ว: การเงิน แม่และเด็ก รถยนต์ สุขภาพ เช่น สายไอทีจะเล่น 5 แอพวางแผนการเงิน, แอพช่วยยื่นภาษี

✨Social media algorithm

ทำไมสำคัญ? Platform นึงสามารถทำ content ได้หลายรูปแบบ ดังนั้นต้องทำความเข้าใจ algorithm ก่อนทำ content

ของ wall street journal ทำการ research โดยสร้าง account TikTok bot 100 คน และใส่ persona ลงไป เพื่อวิเคราะห์ประเภทของ content ทำให้คนดูมากขึ้น ตอนแรกเราจะเจอ popular ในแต่ละหมวดก่อน ที่ยอด view เยอะ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมเรา แล้ว serve content อันอื่นที่น่าจะตรงกับเราออกมา

ดังนั้นให้ทำความเข้าใจคนใช้งาน และทำความเข้าใจ content ด้วย

แบ่ง algorithm เป็น 2 แบบ

Social Media: เน้นคน ให้คนแชร์หากัน จากคน สู่คน เน้นให้เกิด follower เช่น Facebook, Instagram

Facebook เน้นความสมํ่าเสมอ reach จะเท่า ๆ กันทุกครั้ง (เมื่อทำไประดับนึง) ในหน้า feed 85% เห็นจากคนหรือเพจที่เราตาม ส่วน 15% AI แนะนำ แต่เกิดปัญหาสังคม คือ แยกคนในแต่ละสังคมออกจากกัน เช่นเรื่องการเมือง ที่เห็นแต่ฝั่งตัวเอง ไม่เห็นฝั่งตรงข้าม ตอนนี้เราจะเห็น AI suggest post มากขึ้น ประมาณ 30% (คนบ่นเยอะ คนตามไม่เห็น ไม่ได้เพจที่ตาม เห็นเพจที่ไม่ได้ตาม)

Recommendation Feed: เน้น AI และเน้นให้ AI ชอบ content เรา

  • YouTube ที่เราเห็นช่องที่เราตาม และไม่ได้ตาม ครึ่งครึ่งเลยทีเดียว มีเรื่องแก้ AI ใน YouTube kids ในการเรื่องการคัดกรอง content ที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก และ applied ตามกฏหมายของสหรัฐอเมริกา คือนอกจากผิดกฏ YouTube แล้ว ยังผิดกฏหมายด้วย ว่ากันง่าย ๆ
  • TikTok เวลาเข้าแอพจะเจอหน้า for you ในนั้นมี post ที่ AI แนะนำถึง 85% และคนที่เราตามเพียง 15% เท่านั้น และยอด view ขึ้น ๆ ลง ๆ ตาม algorithm (ซึ่งอาจจะมีความขึ้นแรงลงแรง เหมือนราคาคริปโต 😆)

✨ AI คิดยังไง?

ครอง content ของเรา เอามาแยกร่าง แล้วจัดระเบียบให้กับคนที่ชอบ content นั้น ๆ

AI วิเคราะห์โครงสร้างของเพจ และ content ในหน้าเพจของเรา เรียกสิ่งนี้ว่า Channel structure นั่นเอง ซึ่ง AI ใน TikTok ส่งคลิปต่าง ๆ ให้เราดู ว่าเราดูอันไหนเยอะ แล้วไปอันลึก ๆ

ซึ่งอยู่ที่เราทำแนวกว้าง หรือแนวลึก

  1. Mass: ยอดดี แต่ขายของยาก เพราะกว้างไป
  2. กลาง: ฐาน fanclub ดี ติดตามต่อเนื่อง
  3. เฉพาะทาง: ยอดไม่เยอะ แต่ขายของง่ายมาก

การวางตารางทำ content 1 เดือนเราทำกี่ตัว ถ้าโครงสร้่งดี AI นำส่ง content ได้ดี เน้นทำช่องไปทางเดียว

✨ Content Structure

  • YouTube search เจอทุกคำในคลิป
  • TikTok ปก, เพลง, hashtag, subtitle auto generated

Insight ที่ AI ดู

  1. interest in page: ทำให้คนสนใจมาก ๆ
  2. type of content: ช่องนี้ promote อะไร
  3. recency: ปัจจุบันแค่ไหน เน้นในบาง platform
  4. past performance: ถ้ายอดแป้ก AI ส่งให้คนเห็นน้อย ถ้ายอดดีอยู่แล้วถึงจะแป้กก็ส่งให้คนเห็นเยอะ
  5. post performance: คุณภาพของโพสปัจจุบัน

แล้วแต่ละ platform ล่ะ

  • Facebook และ Instagram: คงคุณภาพสมํ่าเสมอ
  • Twitter หรือ X: เน้นเทรนด์ และโพสคุณภาพต้องมี
  • YouTube: ความสนใจของคนดู + SEO
  • Tiktok: post performance + trend + ดูคลิปซํ้า

สรุป

  • Facebook: เน้นคุณภาพ ทำให้คน share
  • TikTok: เป็นแอพหมวด entertainment และขายของ เปลี่ยนไวมาก 2 สัปดาห์แรกเป็นตัวตัดสินช่องเรา และเน้นทำตามกฏบ้านเขา เช่น ห้ามแชร์ QR Code, ห้ามพาคนออกจาก platform เขา (ก็เลยจะเจอบ้านฟ้า บ้านเขียว แอพส้ม ใด ๆ)
  • YouTube: สร้าง community ของคนดู เน้น video long-form คนที่มาจาก TikTok เริ่มมาทำในนี้แล้ว
  • Instagram: บ่งบอกความเป็นเรา มีความ mood & tone และบางคลิปใน TikTok ลงใน Instagram อาจจะไม่ work ก็ได้ ใน IG
  • X: แอพหมวดข่าว มองตัวเองเป็นสำนักข่าวของโลก real-time เน้นกระแส ทำให้สั้น กระชับ สื่อสารโดยตรง

อันนี้ที่พี่เอ็มพูดปีที่แล้ว สไลด์ชุดเดียวกัน แต่ได้ content แตกต่างกัน เอาไปอ่านเสริมกันได้เลย

iCreator Camp 2024 วันแรกกับ Storytelling & Creativity
iCreator Camp 2024 วันแรก กับการเรียนพื้นฐานการสร้าง content ทุกประเภท ด้วย Storytelling & Creativity
https://www.mikkipastel.com/icreator-camp-2024-week1-storytelling-and-creativity/#thailands-creator-landscape-social-media-algorithmkhajochi

Beyond The Story ออกแบบคอนเทนต์ให้แตกต่างแต่ไวรัล

คุณบาส – ภาณุภัทร์ สุกัลยารักษ์ (Go Went Go)

ที่คุณบาสแชร์จะไปในส่วนของคนทำ YouTube เป็นหลัก และทำ short-form ด้วย โดยรวมทำทุก platform

✨ การใช้ visual ในการเล่าเรื่อง

ทุกอย่างสำคัญหมด ไม่ว่าจะเป็นภาพ เพลงประกอบ hook อะไรใด ๆ แต่เราจะใช้อะไรให้โดดเด่น

ดังนั้นเรา set จุดประสงค์ในการเล่าเรื่องกันก่อน

  • ถ้าเน้นอารมณ์ ความรู้สึก Emotion: ภาพสวย เพลงเพราะ wording คม ๆ 1 ประโยค ถามว่า mass ไหม แล้วแต่ ซึ่งจะเหมือนกับภาพยนตร์ ที่คนเข้ามาแล้วตั้งใจดู
  • เน้น Mass เข้าถึงคนง่าย ๆ: พวก TikTok คลิปสั้น ให้คนไถเจอเราแล้วหยุดดู การตัดต่อจะตัดเร็วกว่า พยายามให้คนอยู่กับ video ตลอด มีการเปลี่ยนมุมกล้องและตัดสลับกัน ทำให้คนดูสนุก ไม่เบื่อ ตื่นเต้นตลอดเวลา เหมือนดู MV เปิดให้คนสงสัย มี dynamic ขึ้นลง
  • ออกแบบให้คนดูได้แม้ไม่เปิดเสียง: มีคนจำนวนเยอะมากที่ดูคลิปแล้วไม่เปิดเสียง เช่นอยู่บนรถไฟฟ้า ระหว่างทางกลับบ้าน ไถดูก่อนนอน ให้เราลองดูคลิปเราแล้วไม่เปิดเสียงว่าเราเข้าใจไหม บางอย่างใช้ภาพเล่า ใส่ subtitle ช่วย ทำให้เล่าเรื่องโดยไม่เปิดเสียงได้

✨ เที่ยวเหมือนกับคนอื่นยังไง ให้ได้ content ที่แตกต่าง

เช่นสายท่องเที่ยว เหนื่อยในการทำคลิป แล้วที่แมส ๆ บางทีต้องรีบลง

  1. แตกต่างด้วย content: สถานที่เดียว เล่าได้หลายมุม เทคนิตคือ ลองเขียน keyword ออกมา เช่น โตเกียว ว่ามีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง โยงเป็น mindmap เขียนได้เยอะ แล้วมาคัดอันที่เราสนใจ
  2. แตกต่างด้วยวิธีการนำเสนอ: แต่ละคนมีวิธีที่ต่างกัน ใช้วิธีเขียน mindmap ได้เช่นกัน
  3. แตกต่างด้วย Charactor: เป็นตัวเองก็ดี แต่ไม่ต้องเป็น 100% ก็ได้ เอาให้ fit กับคนดู เพิ่มบทบาทบางอย่างให้ดูน่าสนใจมากขึ้น บางคนในจออาจจะเป็นคนสนุกสนาน มี energy เยอะ หลังกล้องอาจจะเป็นคนเงียบ ๆ ก็ได้ ซึ่ง TikTok ไม่ใช่ social network แต่เป็น entertainment platform เช่น คุณหรูติดหรู มาเที่ยวลำบาก / อาชีพ content creator เข้าง่าย การแข่งขันสูง หาจุดขายของตัวเองให้ได้
  4. การทำให้ content เที่ยว ให้ไม่มีแค่การเที่ยว: ไปแบบเฉพาะทาง (niche) เช่น Go Went Go เที่ยวและรู้เรื่องประวัติศาสตร์ไปด้วย ทำให้การท่องเที่ยวสนุกขึ้น หลาย ๆ สถานที่ชอบดันด้วย storytelling เหมือนเป็น marketing โปรโมตสถานที่นั้น ๆ ทำให้คนสนใจ และกลับมาที่นั้นใหม่ เช่น วัดแชกงหมิว ขอแล้วได้ก็กลับมาใหม่

✨ process วิธีการทำงาน แบบ Go Went Go

Go Went Go มีทีมงาน 30 คน เนื่องจากการทำ content ให้น่าสนใจ อยากลง content ที่ดี มีคุณภาพ และมีความถี่มากขึ้น ให้คนที่มีอยู่เหนื่อยน้อยลง เลยเพิ่มคน ซึ่งอยู่ที่แต่ละคนอยากไปแบบไหน

Online vs สื่อยุคก่อน ในตอนนี้ offline ปรับมาทาง online มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา อย่างล่าสุดที่มี collab กันระหว่าง 2 ช่อง อย่างโหนกระแส กับคนดังนั่งเคลียร์ เคสเรื่องรถ BMW นั่นล่ะ

Process: pre-pro-post อาจจะตรงหรือไม่ตรงก็ได้ ไม่ต้องตามทฤษฎีนี้เป๊ะ ๆ ปรับให้เหมาะกับคนทำงาน

Pre-production: ก่อนถ่าย เป็นการเตรียมตัว เช่น ทำ storyboard, ขายงานให้ลูกค้า

  • เลือกจาก destination เป็น point แรก ว่าอยากไปที่ไหน แล้วเริ่มหา main idea (keyword mindmap ก็ได้) สำหรับ long-form และ short-form หา 4 - 5 main idea สำหรับ long-form และเรื่องย่อย ๆ ทำ short-form ได้กี่ video เพราะการทำ content สายท่องเที่ยวใช้เงิน และเวลาถ่ายทำเยอะ ใช้ให้คุ้มค่าที่สุด
  • Storyline เขียนแค่ storytelling ของแต่ละที่ และ shot ที่ต้องมี และ create มุมที่ชอบ ไม่มีสคริป ยกเว้นงานลูกค้าที่ wording ต้องเป๊ะ
  • หา reference ตอนถ่ายทำ
  • สรุปแผนการเดินทาง และ storyline ของแต่ละ content
  • อันนี้สำคัญมาก เพราะไปจริง ไม่ได้ตามนั้นทั้งหมด และทุกสถานที่มีวันที่สวย และไม่สวย อีกอย่างอย่าลืมทำประกันการเดินทางก่อนไปด้วยนะ

Production: ถ่ายทำ

  • ออกกอง มีไปคนเดียว กับ 4 คน มี vlog + insert, ภาพนิ่ง, ถ่าย video มุมกว้าง, creative งานลูกค้า หรือติดต่อประสานงานใด ๆ ตอนไปคนเดียวก็ทำ 4 หน้าที่นี้ในคนเดียว ก็จะเหนื่อยนิดนึง
  • ถ่ายแนวตั้ง แนวนอนทุกคลิป เพราะต้องการครอบคลุมทุก format
  • Idea ด้นสด เกิดขึ้นได้ จด idea นั้น แล้วเอาไปขยาย script เก็บ footage เพิ่ม ทำเป็นคลิปสั้น เช่น คนลอยนํ้าไปทำงาน
  • เจอเรื่อง surprise ระหว่างทาง เจอ สังเกต เอาไป search แล้วไปทำ เช่น เจอรถม้ามีไฟเลี้ยว เลยได้ content ชาวอามิชที่ไม่ใช้ไฟฟ้า เทคโนโลยีมา
  • การจัดการ footage มีการถ่ายทำล่วงหน้า ของช่อง Go Went Go ประมาณ 2 เดือน มี backup เป็น memory card ถ่ายแล้วเต็ม ก็เปลี่ยนเป็นอันใหม่ ไม่มีการ format ระหว่างทาง กับใส่ใน harddisk กันกระแทก ในออฟฟิศก็มีแบบนี้อีกชุดนึงเหมือนกัน และถ่ายเป็น 4K เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก ในเรื่องพวกความคมชัด บวกกับ stat ที่มีคนเปิดบน TV เยอะมาก และร้านขายทีวีก็ชอบเปิดวนไปเรื่อย ๆ เพราะภาพชัด

Post-production: หลังถ่ายทำ ตัดต่อ ทำสี โปรโมต marketing ต่าง ๆ

  • motion graphic ให้ภาพขยับได้ เพื่อเพิ่มความสนใจ
  • ถ่ายมุม vlog เหมือนไปด้วยกัน และบางมุมที่ถ่ายจริงไม่ได้ ก็จะซื้อ footage จาก shutterstock เป็นหลัก โดยการ subscription มีลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง และการถ่ายทำก็ทำเอกสารขออย่างถูกต้องด้วย
  • ปรับคำพูดให้เป็นธรรมชาติ อัดเสียงในห้องนอนด้วย macbook และไมค์ Shure
  • cut foot ติดดาวอันที่ต้องใช้ มีการปรับสีให้ดูมีความ cinema มากขึ้น แต่สีไม่เพี้ยนกับของจริง เป็นการปรับ mood & tone
  • ส่งให้คนทำ subtitle แล้วใช้ AI แปล subtitle เป็นภาษาอื่น
  • ตรวจคุณภาพ 4 ระดับ คุณบาสตรวจสุดท้ายเลย ตรวจว่าเสี่ยงกับดราม่าไฟม เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเรา ถ้ามีจริง ๆ ก็ขอโทษก่อนทัวร์จะมา
  • ถ้ามีลูกค้า ส่งให้ลูกค้า approve ก่อน ดูด้วยว่าแก้ได้กี่ครั้ง ลูกค้าผิดเกินกี่ครั้ง เพิ่มค่าใช้จ่าย ถ้าเราผิดเองเราก็แก้
  • ออกแบบปก 2 - 3 ปกทุกครั้ง และทำ A/B Testing ดู CTR ว่าคนคลิกดูเพราะปกไหนเยอะ แต่ถ้าคนดูน้อยกว่าปกติ ก็ทำปกใหม่แล้วเปลี่ยนเลย เพื่อให้ view ขึ้น และเปลี่ยนคำ title ด้วย
  • มี admin ตอบ comment ให้มากที่สุด อันไหนสุ่มเสี่ยงก็จะไม่ตอบ หรือลบทิ้งเลย และทำหน้าที่ share video ไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อ support
  • วิเคราะห์หลังบ้าน และเก็บ feedback เช่น ทำไมคนดูแล้วไม่ออก คลิปเด้งขึ้นช่วงไหน คนดูกดข้ามไปตรงไหน

Q & A

  • ตัดตาม platform นั้น ๆ ไหน ให้ตัดเท่าที่เราไหว อาจจะตัดแบบเดิมและลงทุห platform มีลง story ล่วงหน้าเพื่อให้คนรอดู
  • อิงจากคลิปที่เราทำได้ดี ว่ากลุ่มคนดูเป็นใคร
  • วาง branding คือ วาง position ตัวเอง อยากให้คนดูจำเราแบบไหน

จากนั้นเราก็กินข้าวกลางวัน ก่อนชาวแคมป์เจนสองจะมากัน ปีนี้กินข้าวที่ชั้น 4 ห้องติดแอร์ แอร์เย็นด้วยไม่ร้อน และทำกิจกรรม ice-breaking ใด ๆ ตรงนั้น

เวลาเหลือก็หาชากัน เลือกชาดำมัลคิเอโต้หวาน 0% ร้านก้อย เพราะไม่ได้กินนานล่ะ แล้วก็หา inspire จากห้างสรรพสินค้าแถวนั้น แต่ตอนนั้นคือฟ้ามืดมากกเลย ฝนลงเม็ดนิดนึง

อันนึงที่ไม่ได้ถ่ายมา คือร้านกาแฟตรงนั้น ตอนนั้นไม่เปิด วันนี้เปิด อ้าวเลย

กลับขึ้นมาชั้น 3 เช่นเดิม คนเยอะอยู่ อันนี้แบบถ่ายไม่ติดหน้าใครสุด ๆ แล้ว จะมี booth ของ SONY ของทาง Anymind เหมือนเปิดบูธใหญ่ขึ้น แล้วก็ merchaindise ของทาง Rainmaker


iCreator Camp Content Gen 1 x Gen 2

คุณเฟนเดอร์ – ณัฏฐณิชา เหลืองสอาดกุล (FenderFoto)
คุณเฟิร์ส – กันตวัฒน์ บวรวัฒนวานิช (firstkantawat)
คุณกัปตัน – ศิรวิทย์ ศิริผล (withcapt)

เป็น panel session ที่รุ่นพี่มาแลกเปลี่ยนกับรุ่นน้อง

Q: ที่มาการเป็น content creator

คุณเฟนเดอร์: ถ่ายรูปมา 7 ปีแล้ว และมีทาง zoom camera ให้มา review อุปกรณ์ เพิ่งเริ่มทำปีที่แล้ว

คุณเฟิร์ส: เรียนจบอยากเปิด production home แล้วเพื่อนแยกไปเปิดช่องเอง แล้วเพิ่งเริ่มทำช่วงปีที่แล้วเช่นกัน เหมือนมาเดบิ้วที่แคมป์นี้

คุณกัปตัน: เริ่มต้นจากละครเวที ที่สื่อสารกับผู้คน แล้วมาทำ production งาน video YouTube คู่แข่งเยอะ เลยมาทำช่องเล่าเรื่องสั้น ๆ

Q: นิยามของแคมป์นี้ และแคมป์นี้ให้อะไรเราบ้าง

คุณเฟนเดอร์: แคมป์นี้สนุกใน week หลัง ๆ เพราะรู้จักเพื่อนว่าทำเพจ ทำช่องอะไรกัน และเป็นแคมป์ที่ดีและฟรี ของรางวัลแน่น

คุณกัปตัน: แคมป์เป็นเข็มทิศให้กับเรา เลือกเส้นทางของตัวเราเองได้

คุณเฟิร์ส: มาแคมป์แล้วมีไฟมากขึ้น ครบ ได้ทุกอย่าง ทั้งเพื่อน ความรู้ การลงมือทำจริง

Q: เหตุการณ์ประทับใจ

คุณกัปตัน: เป็นคน introvert นั่งกินข้าวคนเดียว มี week นึงที่ไปนั่งโต๊ะนึง ที่เขานั่งกัน 6 คน แล้วมี extrovert คนนึงถามแต่ละคนในโต๊ะว่า ชื่ออะไร ทำช่องอะไร แล้วได้รับคำปรึกษา คุยแล้วเข้าใจกัน (บทสนทนาแรกของทุกคนในค่ายที่เจอกันน่าจะคำถามนี้555)

คุณเฟิร์ส: relationship บางอย่าง มีคนหลากหลาย ทุกคนพร้อมเป็นเพื่อน และให้คำแนะนำ

คุณเฟนเดอร์: ทุกกลางวันมีเวลาคุยกับเพื่อน มี footage ถ่ายตอนรับรางวัล แล้วเพื่อน ๆ airdrop มาให้ และได้เจอ creator ที่เราชื่นชอบ

ทีมงานได้รับ feedback จากชาวแคมป์ปีที่แล้ว ปีนี้เลยมีกิจกรรม ice-breaking ตั้งแต่วันแรกเลย

Q: การเป็นผู้ชนะรู้สึกยังไง และมีบทเรียนยังไงบ้าง?

คุณเฟนเดอร์: ทุกคนตั้งใจทำ assignment มาก ช่วยกัน engage กันในกลุ่มแชท Facebook

คุณเฟิร์ส: ทำงานประจำไปด้วย ตอนแรกยังหาตัวเองไม่เขอ แต่รู้ว่าเราอยากทำอะไร เป็นการ challenge ตัวเอง ออกจาก safe zone และ insprire ตัวเรา

คุณกัปตัน: content creator สร้างเงิน สร้างอาชีพ ให้ assignment เป็นสนามแรกของเรา และเป็นที่จดจำของเราไปตลอด

Q: ชีวิตหลังจบ camp เปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง?

คุณกัปตัน: เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ตอนแรกจะเปลี่ยนอาชีพจาก production มาเป็น UI/UX ค้นพบจากการทำ assignment ว่าถ้าเราหาเงินได้จากสิ่งนี้คงจะดี ทำแล้วเป็นตัวตนของเรา ลูกค้ามาจ้างงานเยอะมาก ๆ เป็นการสร้างอาชีพ สร้างตัวตน + mood & tone

คุณเฟิร์ส: รางวัลเป็นแค่รางวัล ทุกอย่างต่อยอดเองหลังจบแคมป์ เป็นการ connect the dot หาตัวเองต่อ ซึ่งแคมป์เป็นก้าวแรกในการพัฒนาตัวเอง และการตั้งชื่อช่องสำคัญ ทำให้คนค้นหาเราง่าย ๆ

คุณเฟนเดอร์: หลังจากที่ทาง SONY share post assignment ในเพจ ทำให้มีแบรนด์กล้องต่าง ๆ เข้ามา และเป็นวิทยากรสอนถ่ายภาพ มีโอกาสเยอะมากในการทำงาน และหาตัวคนเจอ การเป็นช่างภาพผู้หญิงป้ายยาขายของได้ง่ายกว่า ตั้งใจเรียน แล้วเอาที่เรียนมาทำ assignment

Q: เล่าถึง assignment ที่ทำ

คุณกัปตัน: เอา pain point การเป็น introvert มาเป็น idea เป็น SONY เพื่อนที่สนิทใจด้วย การที่มี output ที่ดี เกิดจาก input ที่ดี

คุณเฟิร์ส: rap เกี่ยวกับ pain point ของการใช้ iPhone ที่กล้องไม่ auto focus เป็นการบ่นในมุม customer

คุณเฟนเดอร์: พูดศัพท์กล้องให้คนนอกเข้าใจได้ง่าย เน้นความกระชับและเข้าใจง่าบ ดังนั้นจะต้องตีโจทย์ให้แตก อย่าง soft power มีอะไรบ้าง เล่าในมุมประสบการณ์ของคนต่างชาติที่มาไทย และทำคลิปกับเพื่อนอีกคนนึง มีการ share footage ด้วยกัน แล้วตัดเล่าเรื่องในแบบของแต่ละช่อง

Q: มีอะไรฝากถึง gen 2 ไหม

คุณเฟิร์ส: 5 ร คือ รีบลงมือทำ เวลาผ่านไปไว, เรียนรู้ เอามาปรับใช้, รับมือกับความกดดัน, รักษาสุขภาพ แบ่งเวลาให้ดี, รับฟังคนอื่น

คุณกัปตัน: สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความถี่ ให้คนอื่นจำเราให้ได้

คุณเฟนเดอร์: ให้เจอในสิ่งที่ตัวเองชอบ ทำให้เราทำได้ดี ไม่ท้อ วันนึงก็จะเป็นของเรา

Creative Solution for Creators เปลี่ยนวิธีคิดแบบคนครีเอทีฟ

คุณอั๋น – วุฒิศักดิ์ อนรรฆพร (FACTORY01)

บาง slide เป็นงานลูกค้า ห้ามนำไปแชร์ต่อ ดังนั้นในนี้จะเขียนเนื้อหาหลักเนอะ ส่วนที่เกี่ยวกับลูกค้าจะไม่เขียนในนี้เนอะ save speaker นิดนึง

คุณอั๋นเคยทำงาน creative มา 4 ปี จากนั้นเรียนต่อด้านภาพยนตร์ และเป็นผู้กำกับหนังโฆษณา

creator ที่ดี ทำให้ต่อเนื่อง และต้องทำเป็นอาชีพให้ได้ ให้ generate ออกมาเป็นรายได้ให้เรายังไง รายได้มาจาก brand ต่าง ๆ ที่เราทำงาน และตัว creator focus ที่ content และจุดแข็งว่าเราต่างจากเขายังไง

ถ้าแบ่งเส้นให้เห็นภาพง่าย ๆ ฝั่งซ้ายเป็น creative จะเป็น make to order ใครสั่งอะไรมาก็จะทำแบบนั้น และฝั่งขวาคือ creator เหมือนอาหารโอมากาเสะที่ serve ตามใจเชฟ เหมือนเราเป็น content creator ที่นำเสนอเนื้อหาที่เราเชี่ยวชาญ และลูกค้าก็คือ brand ก็จะอยู่ตรงกลาง

creator มี media มีฐานแฟน เป็นสิ่งที่ฝั่ง agency ไม่มี และถ้าเรามีก้อนนี้น้อย ก็จะเสียอิสรภาพของเราไปเรื่อย ๆ อาจจะเสียเปรียบฝั่งขวาที่เรามี

ตัว creator รับโจทย์จากลูกค้าโดยตรง โดยเขาใช้ประโยชน์ฝั่ง media ที่เรามี creator ฝั่งนี้ที่ทำได้มีก็จะมีพี่เอ็ด 7 วิ กับเต๋อ นวพล

แล้วถ้าฝั่ง creative มาฝั่ง creator ล่ะ เช่น ต่อ ฟีโนมีน่า ใส่แล้วงานมีความเป็นตัวเองมาก ซึ่งมันจะมีข้อเสียเหมือนกันว่างานแต่ละ brand อาจจะมีความแตกต่างกันน้อยลง

Videos for commercial

มีคนพยายามบอกว่า content video สำคัญกว่าประเภทอื่น ในความเห็นของคุณอั๋นมองว่า video เป็นสื่อที่กำหนดอารมณ์ของคนฟังได้มากกว่า content ประเภทอื่น จริง ๆ แล้วคือ video เป็นสิ่งที่ platform มองว่ามันคิดเงินได้ดีที่สุด และ generate รายได้ได้ดี จึงมองเป็น product นึง และมีผลประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

Cannes Lions มีข้อมูลวิเคราะห์ว่า 0.00000058% (ไหมนะ อาจจะ 0 ใส่ไม่ครบไม่ก็เกิน) เป็น video ที่ดี และ video ที่ไม่ดี platform ชอบ เพราะเขาใช้เงินในการ drive ให้คนเห็น โดยการ ยิง ads ซึ่งในจำนวน video ที่ดีนั้น นับคนที่เจ้า short-list ซึ่งขั้นถัดไปมี finalist มี gold sliver bronze และอื่น ๆ

คนที่มี character จะเป็นทุกอย่างที่อาจารย์พูด เลือกสิ่งที่เราชอบมารวมเป็นตัวเรา (คือเราอาจจะไม่ต้องเชื่อทุกอย่างที่มีคนพูดนั่นแหละ)

Communication

people, content, context ซึ่งรวมถึง platform ด้วย มีทั้งคุมได้ และคุมไม่ได้ เช่นลง content ในวันปกติธรรมดาคนอาจจะขำ แต่ถ้าลงในวันแผ่นดินไหวโดนด่า

คน → target: ควรมีกลุ่มเป้าหมายของเราเอง และมีคนที่ taste ตรงกับเรา ไม่ใช่คุณภาพเนื้อหา เช่น โตแล้วหยุด เราต้องดูแล้วว่าเราย่อย target ได้ดีแค่ไหน

ดังนั้น communication target ย่อยให้มากที่สุด จะทรงพลังได้มากขึ้น เช่น 5 คนที่เป็น opinion leader และคนอื่น ๆ FOMO ตามกลุ่มคนเหล่านี้

ศึกษาการทำงานของสมอง ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณนี้

  • Neocortex: คนมีส่วนนี้เยอะ ในสัตว์มีน้อย เป็นส่วนที่เราคิดว่าเราเจ๋ง ใช้ในการ plan เกี่ยวกับภาษา เช่น โกหกแฟน สร้างตึก - logic
  • Limbic: เหตุผลกับอารมณ์ ที่ไม่เคยไปด้วยกัน เช่น ผู้หญิงชอบคนเลว - feeling
  • Stem: ระบบ auto เช่น สัญชาตญาณการเอาตัวรอด ตรงนี้ชนะทุกอย่าง - instinct

สรุป อารมณ์ชนะเหตุผล และสัญชาตญาณชนะทุกสิ่ง

หลาย ๆ คนคงเคยเห็นสามเหลี่ยม maslow หรือ Maslow's hierarchy of needs ยังไม่มีวันหายไป เพราะมาจากเรื่องของสมอง

การทำงานของ agency

  • Neocortex → What - Product: พูดถึงแต่ product คนไม่ฟัง คนไม่สนใจ brand ต้อง bet ว่าไม่มีใครดีกว่า เช่น เราเป็นเพื่อนกับใครเพราะอะไร, copy tech คนอื่นตลอดเวลา
  • Limbic → How - USP (Unique Selling Point): product ของเรามีคุณสมบัตินี้คนเดียว มีจุดขาย เช่น technology ใหม่กว่าเพื่อน ทำ PR เพราะ product ชนะอยู่แล้ว แต่ถ้าสู้ไม่ได้ marketing จะสร้าง unique เทียม ใครให้เยอะกว่า คนก็ไปตรงนั้น เช่น เดินเข้าห้องเหมือนทุกคน คนจะไม่สนใจ ส่วนคนที่เดินเข้าห้องแล้วเสียงดัง เขามีคนจำได้ เพราะมี character, คนจำได้ เพราะชอบก็อปตลอด
  • Stem → Why - Attitude: พูดถึงความคิดของ brand คนทำหนังตรงนี้ได้มีไม่ถึง 10% แต่ creator ทำตรงนี้เก่งกว่า agency

เช่น Samsung คนจะได้เพราะ copy tech และเปลี่ยน position เป็น tech + design

บอกก่อนว่าเพราะอะไร เช่น บอกว่ามีคนหูหนวกมาเรียน พอเขาเดินเข้าห้องเรียนคนจะไม่โกรธ และรู้สึกสงสาร

สมองส่วน stem แข็งแรงที่สุด คนเริ่มคิดจากตรงนี้ ย้อนขึ้นไปข้างบน เป็น sense by instinct → อารมณ์ ผลลัพธ์ไม่ใช่เหตุผล แต่เป็นอารมณ์ → ความนึกคิด

ดังนั้น Why เป็นการ set experience → twist → How (feeling) → What

ตรงนี้มีเปิดงานที่เขาทำให้ดูพร้อมอธิบาย ซึ่งขอข้าม

มีอันนึงที่น่าสนใจ คือเรื่อง storyboard มีแนวคิดที่ว่า ผู้กำกับตาย หนังต้องรอด ดังนั้นจะต้องวาดว่าเราจะถ่าย shot นี้ยังไง มีจุดตัด 9 ช่องด้วย ต้องมีอะไรบ้าง plan ไว้ก่อน ในวันถ่ายทำทำตาม plan ในแง่ของการลงทุน เวลา และสมอง ซึ่งจะได้ shot จริงตาม plan ที่วางไว้

consistency ความต่อเนื่องของ character ของเรา เช่น ถนนพระราม 2 เป็นแบรนด์ที่แน่นหนามาก คนจำได้ และนึกถีงในทุกเหตุการณ์ เช่น แผ่นดินไหว ดังนั้นเป็นการมุ่งสร้างเกมส์ในระยะยาว และความต่อเนื่องไม่จำเป็นต้องอารมณ์เดียวก็ได้

Q & A

  • เรามี character เพื่อให้คนเดา next move ของเราได้ ในการทำฐานแฟน ดังนั้นให้หา rational ของเราให้เจอ
  • ทำไมคนถึงรู้ว่า Volvo stand for ความปลอดภัย มาจากการที่เขา invest safe belt 3 จุด ไม่จดลิขสิทธิ์ ให้เจ้าอื่นเอาไปใช้ได้ มี Why คือ เชื่อว่าทุกคนนอกหรือใน Volvo เราควรจะปลอดภัย ทำให้เขา stand for สิ่งนี้ brand พูดและทำ มีความเชื่อและ take action ทำให้มันสอดคล้องกัน จะได้ fact ในหัวของ customer
  • brand สนใจ impact ไม่สน content เราให้ customer รู้สึกยังไง และ revenue

Choosing the Right Camera for Your Content Style เทคโนโลยีกล้องที่ช่วยในการทำงานของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในปัจจุบัน

มีตอบคำถามแจกของเหมือนเดิม5555555 ตอนเรามาตอนเช้าก็ลองไปถามทีม SONY ลองจับเล่นบ้าง และแน่นอนจำรุ่นไม่ค่อยได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในคำถามแจกของด้วยเช่นกัน55555555555

หลัก ๆ พูดถึงเจ้า ZV E10 II ที่มี feature ดังนี้

  • creative look เป็นเหมือน filter มี 10 แบบ และสามารถ custom ได้ตามสไตล์ของเราอีกด้วย
  • soft skin effect หน้าเราสวยธรรมชาติที่หน้ากล้องเพราะสิ่งนี้
  • cinematic vlog
  • 1 mount ใช้ได้ 79 เลนส์
  • เอ้อออรองรับการถ่ายแนวตั้งด้วย แต่ตั้งยังไงอีกเรื่องนะ

จากนั้นเป็นช่วงเจนสองกินหนม แล้วก็ ice-breaking

เลยลงมาข้างล่าง เจอเพื่อน ๆ เจนหนึ่งมีคุณเฟนเดอร์ คุณเฟิร์ส คุณเต้ The Principia คุณเกมส์ ReviewHere แล้วก็เพื่อนอีกคนนึงจำชื่อไม่ได้ ฮืออออออ เจอคุณบีเบนซ์ MC ของงาน แล้วก็คุณปิงปอง SONY มีถ่ายรูปกันกรุบกริบ แล้วก็ไปกินขนมร้าน Creamery

คลิปบรรยากาศในวันแรกจ้า

(ยังไม่ได้ตัด ถ้าเสร็จจะเอาจาก TikTok มาลงตรงนี้)

สุดท้ายก็ไม่มีอะไรมากหรอก แค่รู้สึกว่าหลังหายไปแล้วที่นิเทศ จุฬา ตามหาหลังใหม่ใกล้ฉัน555 แอบเห็น assignment แรกของรุ่นสอง น่าสนุกดี เอาไปทำด้วยดีกว่า


ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ และทุกช่องทางโดเนทกันไว้ที่นี่เลย แนะนำให้ใช้ tipme เน้อ ผ่าน promptpay ได้เต็มไม่หักจ้า

ติดตามข่าวสารแบบไว ๆ มาที่ Twitter เลย บางอย่างไม่มีในบล็อก และหน้าเพจนะ

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.