ปรับวิธีการเป็นนัก storytelling ที่ดีกับ บูม ธริศร และ เคน นครินทร์

Learning May 14, 2021

บล็อกสรุปการเรียนสัปดาห์แรกของ TMRW Creators Camp 2021 ในหัวข้อ STORYTELLING โดยบูม ธริศร และ เคน นครินทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม 2564 จ้า

ส่วนตัวเองไม่ได้ติดตามผลงานทั้งสองท่านจริงจัง แต่ตื่นเต้นที่ได้เรียนกับพวกเขาน้าาา

เราจะลงรายละเอียดเนื้อหาเลย เพราะเราคิดว่าจะค่อย wrap-up ที่เกี่ยวกับงานทั้งหมดแยกเป็นอีกบล็อกนึงเลยดีกว่า

ตัวอย่างบางอันเราอาจจะยกมาประกอบเพิ่มเอง เพื่ออรรถรส? ไม่สิเพื่อการทบทวนแล้วกันเนอะ

Storytelling by Boom Tharis

จากประสบการณ์การทำช่อง YouTube ของคุณบูมประมาณ 7-8 ปี

แต่ละ format มีการสร้าง content ต่างกัน แต่จะขายอะไรบางอย่างเหมือนกัน อาจจะเป็นเรื่องของสิ่งของ ไอเดีย ความฝัน สุขภาพ และอื่นๆ ให้คนอื่นอินกับเรื่องราวของเรา ดังนั้นเราจะต้องมีเรื่องราวที่เราอินกับมันก่อนที่เราจะนำมาพูด

ส่วนประกอบของ Internet Content

จากการสังเกตุ มี 2 ส่วนประกอบคือ Hook จุดที่ดึงคนมาอยู่กับเรา และ Body เนื้อหาที่ดี เราควรคิดสองส่วนนี้แยกออกจากกัน

Hook "ท่อนฮุค" ตอนที่เรารู้จักเพลงนี้ครั้งแรก เราจะได้ยินจากท่อนฮุคก่อน เป็นท่อนที่เราจำได้ อันนี้เราขอยกตัวอย่างเองเช่น "โอ้ย เจ็บไปทั้งหัวใจทำไมยังทน" ร้องซะทรมานขนาดนี้เราต้องหาต่อว่า นี่คือเพลงอะไรกันนะ ทำให้เราอยากสำรวจหรือ explore ต่อไปทั้งเพลง พอเราหาต่อเราจะพบว่าเพลงนี้ชื่อว่าลงใจ ของโบกี้ไลออนนั่นเอง

ดังนั้น ท่อนฮุคเป็นการดึง extension คนดู ให้มาดู content ของเรา เราอาจจะดูช่อง YouTube ที่เราชอบ ดูคลิปช่องนั้นที่คนดูเยอะสุด แล้วมาวิเคราะห์ดู (เดี๋ยวเรายกประกอบสักสองช่องแล้วกัน)

ตัวปกคลิปไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี แค่ดึงดูดให้คนเข้ามาดู

ตัวอย่างที่คุณบูมยกมา

  • Kyutae Oppa ปก cover คลิปที่เหมาเซเว่น มีรูปตัวเองกับชั้นที่ว่างเปล่า และหัวข้อ ทำให้คนอยากรู้ต่อ และคลิปที่แขกรับเชิญเป็นจียอน มาแข่งภาษาไทยกับคิวเท ที่ทั้งคู่เป็นคนเกาหลีที่ดังในไทยเหมือนกันจะเกิดอะไรขึ้น
  • กอล์ฟมาเยือน เป็นช่างภาพ ตัว content จะมุ่งไปทางสายช่างภาพ และคนที่ฝึก skill การถ่ายภาพให้ดีขึ้น ปกมี wording อะไรบางอย่าง เช่นคำว่า "โกง" ทำให้สร้างแรงดึงดูดอะไรบางอย่างให้คนเข้ามาดู และคำว่า "ผอม" หรือ "ขาเรียว" เป็น pain point ของคน เอามาสร้างความรู้สึกร่วมกับคนดู
  • ไปกันนะ เป็นเพจท่องเที่ยวของคู่รัก hook ของเขาก็คือภาพสวยๆในแต่ละโพส ตัวหนังสือในรูปน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย caption ก็น้อย รูปของเขาจะคุมโทน เน้นสีฟ้า เขียวนํ้าทะเล และส้ม เป็น set สี teal & orange มีผลต่อจิตวิทยา ทำให้คนดู content ของเขา
  • ภาพข่าวไทยรัฐใน twitter จะเลือกใช้ wording ที่สั้นกระชับในการสรุปข่าวหรือพาดหัว ทำให้คนเข้าใจมากที่สุด

ตัวอย่างที่เรายกมาเอง

  • 9arm อันนี้เพิ่งตามไม่นาน เลยดูแต่คลิปล่าสุดมากกว่า ส่วนใหญ่เราจะดูเรื่องเล่าที่ตัดมาจากไลฟ์ Twich มากกว่า ปกค่อนข้างกวนนิดนึง พี่เขาเล่าเรื่องสนุกดี ชอบคลิปที่เผาซีรีส์ startup เป็นพิเศษ555 ตัวตรงก็จะกวนๆมีมๆหน่อย เข้าถึงคนสายงานโปรแกรมเมอร์555
  • Theycallmemeow ตอนที่เราตามยังมีพี่เส้าหลิน น้องกังฟู ในปัจจุบันมีสมาชิกมาเพิ่มคือหยงชุนกับซันไซ่ เจ้าของก็จะมีตากล้องกับเป่าเป้ย แน่นอนว่าช่องแมว ก็ต้องดูแมวสิ เพลงแปลงที่กังฟูร้องก็น่ารักดีนะ
Hook อย่างเดียวอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ ถ้า infomation หรือ content ไม่ตรงกับที่เขาต้องการ ดังนั้นเนื้อหาจะต้องถูกคิดมาอย่างดี

ปล. จริงๆเราแอบนึกถึง The Voice รอบ audition เลยนะ ต้องมีท่อนร้องที่ hook ใจกรรมการให้หันเก้าอี้มาหาเราได้อ่ะ

Body เนื้อหา ก็เหมือนท่อนเพลงที่เราชอบ เราชอบเพลงนี้เพราะท่อนไหน หรืออาจจะเป็นเนื้อหาในเพลง

  • The standard จะตรงข้ามกับไทยรัฐ ดูรูปเราอาจจะยังไม่รู้ว่าเป็นข่าวอะไร ดูหัวข้ออาจจะงงๆ แต่ก็กดเจ้าไปอ่านเพราะเชื่อวิธีการนำเสนอของเขา (ไทยรัฐจะเน้นกลุ่ม mass จึงต้องทำให้เข้าใจง่าย ส่วน The standard อ่านแล้วต้องคิดวิเคราะห์ต่อ)
  • เถื่อน channel เลือกนำเสนอสารคิดีที่หาดูได้ยาก และไม่มีใครเอามาตีแผ่ให้ดู ภาพสวย ตั้งใจถ่าย คนดูสามารถย่อยได้ ทำให้คนติดตาม content เขาอยู่เรื่อยๆ
  • GoyNattyDream มีคน subscript เกือบล้านซับในเวลาไม่ถึงปี และคนดูต่อคลิปเป็นล้าน ในคลิปเป็นการสัมภาษณ์สนุกสนานเฮฮา hook คือใช้ connection กับ calabrity มาสัมภาษณ์ คนดูจากคนที่เขาชื่นชอบใน calab ที่มาสัมภาษณ์ ทำให้ดูรายการตอนอื่นๆ เพราะการสัมภาษณ์น่าสนใจ
  • โคตรคูล คาแรทเตอร์ของช่องจะเป็นผู้ชายที่มีความหยาบคาย ทะลึ่งๆหน่อย แต่เป็นกันเอง คนดูจะกดเข้าไปดูบรรยากาศความสนุกสนานในคลิป

สรุป : Hook ดึงคนให้มาอยู่กับเรา + Body เนื้อหาที่ดี → มองแยกออกจากกัน ทำยังไงให้คนมาดูคลิปของเรา

เหมือนกับตัวอย่างหนัง คิดเพื่อให้คนดูที่ไม่รู้จักหนังของเรา มาดูหนังของเราได้อย่างไร

แล้วเราจะสร้างเนื้อหาให้คนอินได้อย่างไร?

Storytelling เรื่องของเราจะต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง

คำว่า Story และ Plot แปลว่าเรื่องเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่

Story คือ เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น

Plot คือเรื่องราวเฉพาะสิ่งที่เป็นเหตุผลต่อเนื่องกัน หรือเหตุผลของเรื่องที่เราจะเล่า

จริงๆคุณบูมเล่าตัวอย่างเรื่องเดียวกัน แต่เล่าสองแบบให้เราฟังเพื่อเปรียบเทียบระหว่าง story และ plot

ดังนั้น ให้เลือกเรื่องที่เราจะเล่าให้เหมาะสม และตัด detail ที่ไม่จำเป็นออกไป โดยใช้หลักการของ Narrative Structure ที่จะช่วยเล่า plot นี้ให้สนุกอย่างไร

Narrative Structure

มีทั้งหมด 3 ส่วน คือ

  1. Setup : เป็นการปูเรื่อง ตัวละคร ปัญหาที่เกิด ส่วนนี้จะเล่าสั้นๆน้อยๆ เช่น แนะนำตัวละครว่าเป็นใคร
  2. Conflict : เมื่อเจอปัญหาแล้ว จะออกจากปัญหาอย่างไร อันนี้จะเล่านานๆหน่อย เช่น พระเอกเจอผู้ร้ายและหาวิธีต่อสู้กับมัน
  3. Resolution : เป็นจุดคลายปม เน้นจบให้ไว เช่น พระเอกสู้กับผู้ร้าย

ตัวอย่างการเล่าเรื่องแบบนี้ก็คือภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ หรือพวก super hero ทั้งหลาย รูปที่แปะมีทั้ง Marvel และ DC เลย แล้วแต่คนอ่านชอบก็แล้วกันเนอะ 🙂

ดังนั้นเราจะต้องเลือกเรื่องที่จะเล่าก่อน อาจจะหยิบเรื่องที่สนุก หรือมีประโยชน์มาเล่า

ตัวอย่าง

  • คลิปนํ้าท่วมของช่องคิวเท อปป้า ในช่วง Setup จะเล่าถึงปัญหานํ้าท่วมก่อน ตามมาในส่วนของ Conflict เป็นการซื้อของไปช่วยนํ้าท่วม จากนั้นลุยนํ้าไปบริจาค และช่วง Resolution จะสรุปแปปนึงแล้วจบคลิป
อาจจะเป็นเรื่องราวเล็กๆแต่ Epic ก็ได้นะ
https://www.youtube.com/watch?v=BtAc9nmn0zI
  • อย่างช่องของคุณบูมเอง BoomTharis ก็จะมี content หลายๆแบบ อย่าง content อสังหารูปปกจะเห็นตัวเองเล็กมากๆ เน้นแปะราคาให้ดูยิ่งใหญ่ จัด compose ให้ดูอลังการให้มากที่สุด ส่วน content อาหารใช้โทนสีส้มแดง ให้อาหารดูน่ากิน และเน้นหน้าตัวเองใหญ่ขึ้น หรือ content lifestyle ก็จะเน้นหน้าตัวเองเช่นเดียวกัน
  • ตัวอย่างเข้าโครงสร้าง Narrative Structure คือคลิปครัวกลาง MK ซึ่งเขาไม่เคยเปิดครัวกลางให้ใครดูมาก่อน เป็นคลิปที่พาไปดู process ต่างๆในนั้น
https://www.youtube.com/watch?v=mpA72yDM_bs

สรุป

  • ในการสร้าง content จะต้องมี "ท่อนฮุค" และ "เนื้อหา" ที่ทำให้คนอิน โดยเราต้องคิดทั้งสองแยกกัน
  • เลือกเรื่องที่เราจะเล่า ว่า story ทั้งหมด มีตรงไหนหยิบมาเล่าได้
  • ในส่วนงาน sponser จะต้องบอกแบรนด์ว่าจะเล่าเฉพาะที่สำคัญ ไม่งั้นจะเป็นการทำร้ายตัวเราเอง เพราะคนดูไม่จบ
  • วางโครงสร้างให้เรื่องของเรา Setup เปิดเรื่องให้กระชับ ให้คนอยากรู้เรื่องราวต่อไป Conflict นานเพียงพอให้เขาติดตามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ Resolution สรุปจบให้รวดเร็วไม่เยิ่นเย้อ

Q&A

  • มี content ไหนที่ทำแล้วเกินความคาดหมาย และอันไหนที่คิดว่าจะปังแต่แป้ก : คลิปที่เกิดคาดคือคลิปครัวกลาง MK ส่วนคิดว่าจะปังแต่แป้กเป็น omakase ตอนแรกคนจะตื่นเต้น แต่พอรู้วิธีการแล้วคนจะเริ่มเข้าใจมันมากขึ้น ดังนั้นสูตรเดิมอาจจะไม่ได้ผลเสมอไป
  • มีการ analyse ท่อนฮุคไหม? : ไม่ได้วัดผลมันขนาดนั้น ใช้วิธีถามคนรอบตัว ว่าถ้าเป็นประมาณนี้อยากดูไหม ดู reaction ของ target ของเรา แล้วก็หาวิธีนำเสนอกับหัวข้อ ลองผิดลองถูก
  • criteria ในการเลือกนำมาทำคลิป : ถ้ามีคลิปแบบนี้เราอยากดูไหม เราอยากดูเพราะอะไร ถามคนอื่นๆด้วย (แบบคำตอบข้อแรกแหละ เหมือนกัน) มีการ brainstorm กันในทีม ว่าอันไหนมี potential ใส่ใน canvas ของตัวเอง มีชื่อคลิป ปก นำเสนอเรื่องราวใน 1 บรรทัด และค่อยๆเลือกทำ
สีเขียวคือเรา อ่ะ ถามคนอ่านเลยแล้วกันเนอะ แหะๆ
  • ให้หาจุดแตกต่างหรือน่าสนใจ ถ้าเราจะทำคลิปคล้ายๆเดิม ถ้ามีคนอยากดูอยู่ก็โอเคที่จะทำต่อไป
  • การรับรีวิวมีการเทคนิคในการ balance อย่างไร : ค่อนข้างเลือกในการรับงาน ดูว่าเรามีสิทธิในการนพเสนออะไร เอาสิ่งที่ลูกค้าอยากให้ทำมาดูก่อนว่าจะเป็นไปใน way ไหนให้ลูกค้าดู ถ้าลูกค้ายังไม่โอเคให้นำมาบิดหรือปรับต่อ ถ้าไม่ลงตัวจริงๆก็เลือกที่จะไม่ทำเพื่อรักษาความ identity
  • "อยากทราบเคล็ดลับของที่รีวิวยากๆ ข้อมูลหนักๆ ถ่ายจริงกี่ซ็อต ถ้าเราไม่ถนัดเรื่องนั้นเลยจะทำยังไงครับ" อันนี้คุณบูมพูดให้กำลังใจมากเลย 10 เทค 20 เทคก็ทำมาแล้ว มีเทคที่ไม่ใช้ก็มีเช่นกัน เรื่องรีวิวของยากๆจะ visualize ในกรอบที่พอจะพูดได้

Storytelling by Ken Nakarin

วันนี้คุณเคนมาในหัวข้อ How to effectively communicate in a digital world 2021 โดยจะเน้นไปที่ 2 เรื่อง คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และทำ content ยังไงให้ปัง ตามชื่อหัวข้อเลยเราจะสื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

ความคาดหวัง

  • สื่อสารในยุค POST COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เข้าใจ MEDIA LANDSCAPE 2021 อันนี้คุณเคนเปิดสไลด์ผ่านๆ จำรูปได้อันนึง อ่านต่อในลิ้งน้า
140+ Social Media Statistics that Matter to Marketers in 2021
Social media statistics are a marketer’s best friend. They tell you how people are using each network and highlight new trends to consider.
https://blog.hootsuite.com/social-media-statistics-for-social-media-managers/
  • เข้าใจพฤติกรรมการเสพสื่อ 2021

การสื่อสารเปลี่ยน

เพราะบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยที่เราไม่รู้ตัว มาจากเทคโนโลยีนั่นเอง

คือเอารูปในสไลด์คุณเคนไปหาต่อง่ะ เลยเจอบล็อกนี้ ref: https://medium.com/@katharyn.peterman/what-are-public-communication-technologies-1b3fb4e9ba3e

หัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลง : technology → พฤติกรรม → social network → platform

การสื่อสารในก่อนหน้านี้จะเป็นแบบ Traditional Business เป็นสื่อ TV หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ในยุคนี้เป็นแบบ Platform Business จะสื่อสารผ่าน platform มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนคุณค่า เราสามารถสร้างสื่อเป็นของตัวเอง ตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ เพราะคู่แข่งเยอะขึ้นเป็นมหาศาล ผู้บริโภคมีสิทธิเลือก content

บทบาทที่เปลี่ยนไป

เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่สำคัญ

  • ยุคก่อน lean back ผู้ส่งสารเป็นผู้เลือก เป็นแบบ push marketing (หรือ outbound marketing ด้วยแหละ เราเพิ่งนึกออก)
  • ยุคนี้ lean forward ผู้รับสารเป็นผู้เลือกแทน เป็นแบบ pull marketing หรือ inbound marketing

ดังนั้นบทบาทของผู้บริโภคมีสูงมาก และสูงมากที่สุดที่เคยเป็นมา และคนส่งสารจะไม่ต้องคิดถึงตัวเองอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น

Audience-Centric : content นี้เป็นประโยชน์กับคนอ่านหรือไม่ ในตัว content เราจะต้องหาประเด็นหรือเรื่องที่จะเล่า และวิธีการเล่า

Landscape ของสื่อเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นมาก ในตอนนี้เป็น Fragmented World คนไม่ได้เล่น social network platform เดียวเท่านั้น จึงไม่สามารถ reuse ได้ เราต้องเข้าใจ platform ก่อน และเลือกใช้ platform ให้ถูกต้อง (เพราะแต่ละ platform มี character ที่แตกต่างกัน)

ดังนั้น เราไม่คิดในมุมตัวเอง และคิดเป็นหลายคาแรคเตอร์

หัวใจแห่งการเปลี่ยนแปลง

  • Audience-Centered
  • Fragmented World : platform เกิดใหม่มีมากขึ้น

สิ่งที่เราต้องเปลี่ยน

เราต้องเปลี่ยนแปลงไปตามโลก

  • Audience-Centricity : เปลี่ยนแปลงตัวเอง คิดแทนผู้บริโภค ดูเหตุการณ์รอบข้าง
  • Understanding Media Consumption : เข้าใจการเสพสื่อ
  • Differentiate or Die : ถ้าไม่แตกต่าง คุณตาย (เราต้องเป็นปลาที่แตกต่าง) สร้างความแตกต่างในตนเอง ตอบคำถาม why เราเกิดขึ้นมาเพราะอะไร และ structure ภายในตัวเอง

How audience-centric are you?

อย่างในภาพ ลูกค้าผู้น่ารัก ในนี้

เราผิดตรงกติกาโลกมันเปลี่ยน เราต้องโน้มตัวไปหาคนอ่านมากขึ้น คิดถึงตัวเองให้น้อยลงมากที่สุด

The Key To Content Marketing (And Business): Be Less Self-Centered
Shane Snow, founder of Contently, says to win at business, brands need to make content, and make it about their audience.

ทำยังไงให้ลากเส้นเชื่อมกันได้ ระหว่าง สิ่งที่เราอยากพูด และเขาอยากรู้เรื่องอะไร มีความสนใจ มีความสุขไปกับอะไร

อย่าลากไปสุด เดี๋ยว branding จะไม่ออก

checklist

  • เรื่องนี้เป็นประโยชน์สำหรับเขาหรือเปล่า
  • เรื่องนี้น่าสนใจสำหรับคนอ่านไหม

เรื่องนี้สำคัญ เกี่ยวข้อง เติมเต็ม emotion ไหม

เรื่องนี้เป็น ประโยชน์ และ น่าสนใจ สำหรับคนอ่านหรือไม่ เราต้อง balance มันให้พอดี เช่น ของน้าเน็ก เป็น edutainment ถ้าทำให้ตลกก็จะเป็นแค่หนึ่งในตลกหลายๆคน ถ้าทำให้ความรู้ก็จะเป็นหนึ่งในหลายๆคนที่ให้ความรู้ ทำให้เราไม่แตกต่างไปจากคนอื่น content จะเป็นการตอบโจทย์เพื่อช่วยเหลือคน และได้รับเสียงหัวเราะด้วย

ก็จะให้นึกถึงน้องแมวกับ Wikipedia นี้ไว้

เอารูปในสไลด์ไปค้นต่อ ref: https://contentmarketinginstitute.com/2013/06/great-content-criteria/
แอบเติมแก้มให้น้อนเขานิดนึง

การนำ content มาชำแหละ : เลือก 1-2 content ที่ชอบที่สุด แล้วนำมาชำแหละดู เป็นการอ่านไม่เอาเรื่อง เราจะได้ structure ค่อยๆจับไปทีละอย่าง ถ้าเชี่ยวชาญแล้วค่อยทำ content แบบด้นสดได้

content ที่ดี ประกอบไปด้วย brand story ของเรา, สิ่งที่เขาสนใจ และความแตกต่างของเรา ทั้งหมดนี้ทำให้เนื้อหาของเราสนใจมากขึ้น

แล้วเราจะนำเสนอ content ที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร? และกลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร?

เช่น เราจะพูดคำว่ารักกับ พ่อแม่ เพื่อน ลูกน้อง สัตว์เลี้ยง ต่างกัน ซึ่งมีบริบทที่แตกต่างกัน เพราะคนที่เราไปพูดไม่เหมือนกัน

การตลาดในยุคนี้ เราทำ Geographics และ Demographics ไม่ได้อีกต่อไป เราจะต้องใช้ Psychographic และ Behavioral เป็นหลักของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะได้รู้ความสนใจ, personality, เขาให้ value กับอะไรเป็นหลัก ดังนั้น data สำคัญที่สุด

สรุป เราจะต้องรู้ว่า กลุ่มคนที่ตามเพจเรา และอ่าน content ของเราเป็นใคร

ตัวอย่าง การแบ่งกลุ่มลูกค้าของ Banana Republic ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม

ของ The Standard กันบ้าง จะเป็น urban young adult และ opinion leader เกิดจากการเบื่อหน่ายข่าวชาวบ้าน อยากอ่านข่าวที่สร้างสรรค์

และถ้าเราทำ content ไปเรื่อยๆเจอสิ่งที่เราต้องการแล้ว เราจะไม่ทำให้เขาผิดหวัง

อยากได้กลุ่มคนที่ niche มากขึ้น เอามานั่งดูว่า content ไหนไปได้ดี อันไหนไม่ work ทำจนเริ่มอยู่ตัวและเห็นภาพชัดเจน

content ที่คนชอบ จะเป็น self improvement และอยากได้ lesson learn จากเหตุการณ์นั้นๆ จึงกลายเป็น content podcast ที่ทำให้คนฟังมีชีวิตที่ดีขึ้น

Unique Selling Point

content ที่ดี น่าสนใจ คนอ่านเป็นใคร

ตัวเราเป็นใคร สิ่งนี้เกิดมาทำไม แตกต่างจากคนอื่นอย่างไร และ brand identify ของเราคืออะไร ไม่ใช่แค่ logo อย่างเดียว ยังเป็นเรื่องการสื่อสาร mission vision ด้วย เช่น เราทำเพจ IT ทำเพจเพื่อตอบสนองใครบ้าง มีประโยชน์กับใคร ส่งเสริมความแข็งแกร่งของเรา ไม่งั้นเราจะอยู่ใต้ภูเขานํ้าแข็งในหมู่คนจำนวนมาก

Brand Essence เป็นตัวช่วยเราตอบคำถามอย่างละเอียด เช่น ของ The Secret Sauce มี defining ว่าผู้บริหารควรจะรู้อะไรบ้าง, มุ่งสู่ leadership ในองค์กร, เขาบริหารกันยังไง คนฟังเอามุมคิดไปใช้ต่อ

Prism of Brand คนมองเห็นอะไร เราเองเห็นอะไร

เช่น Nike เชื่อในการลงมือทำ มุ่งไปข้างหน้า เคสที่ดังๆจะเรื่องแคมเปญในปี 2018 ที่ครบรอบ 30 ปีของ Just Do It เราเลยแปะ source มาลงเพื่ออ่านกันจ้า

Nike’s Colin Kaepernick ‘Just Do It’ campaign is controversial, but on brand: Experts
“What Would You Do?” features customer reactions in New York and Kentucky to young football players asking their coach if they can take a knee during the National Anthem.
https://abcnews.go.com/Business/nikes-colin-kaepernick-campaign-controversial-brand-experts/story?id=57590454

เราแปะ source ให้อ่านกันเพิ่มเผื่อสนใจเนอะ

ฺBrand Identity Prism
วันก่อนเห็นเพื่อนแชร์มาใน Facebook เรื่องของ Brand Identity Prism ซึ่งเราว่ามันก็เป็นตัวนึงที่สามารถเอามาใช้ได้ ในการสร้างแบรนด์ หรือวิเคราะห์แบรนด์ โดยไอ่ Brand Identity Prism นี้ จะมาจากทั…
https://snoopymarketer.com/2016/01/12/%E0%B8%BAbrand-identity-prism/

ตัวอย่างนักเล่าเรื่องที่ดี ก็คือ บังฮาซัน วลีเด็ดๆที่เราจำได้คือ "แม่ชั้นจะต้องได้กินกุ้ง" เป็นคนมีอารมณ์ขัน เขารู้จักตัวเอง เข้าใจคนฟัง ไม่พูดรอคนอื่นก่อน ให้เริ่มไปเลย เพราะให้ความสำคัญกับคนตรงหน้าที่มาดูเราตั้งแต่วินาทีแรกที่ไลฟ์ แล้วมีทีมช่วย support ด้วย และขายดึกๆเพื่อให้คนหิว

https://www.youtube.com/watch?v=XaQEBy83OFA

ดังนั้นให้เราลองฝึดคิดเยอะๆ ใช้หลักของ Start with Why

  • Why : เพจเราเกิดมาทำไม เกิดประโยชน์อะไรต่อสังคม ให้เน้นคิดเชิงจุดมุ่งหมาย
  • How : ทำอย่างไรให้ต่างจากเขา
  • What : เพจเราทำอะไรอยู่

ถ้ายิ่งแข็งแรง brand ก็จะแข็งแกร่งมากขึ้น คนจะอยู่กับเรามากขึ้น

เช่นของ The Standard เอง

  • Why : สร้างสังคมการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก
  • How : creative news ในข้อนี้เราจะต้องดูว่าอุตสาหกรรมของเรา มีใครทำอยู่บ้าง เช่น เป็นสื่อที่น่าเชื่อถือ มีนักข่าวจริงจัง เมื่อ 4 ปีที่แล้วคนยังไม่ให้ความสำคัญกับ online, มี internet influence บ้างแล้ว และจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสาร
  • What : สำนักข่าวออนไลน์

Storytelling Canvas

ออกมาในปี 2019 อาจจะดูเก่าแล้วเลยไม่ได้เน้นมากเท่าหัวข้ออื่นๆ

เปิดตัวครั้งแรกในงาน CTC2020

ปล. งาน CTC ชอบจัด session ที่น่าสนใจชนกันแล้วเลือกได้อย่างเดียวง่ะ ฮืออออ ;__;

รู้จัก ‘Storytelling Canvas’ โมเดลสร้างคอนเทนต์ในวันที่ผู้บริโภคคือ ‘ศูนย์กลาง’ พร้อมลิงก์ดาวน์โหลด – THE STANDARD
Audience-Centric หรือ Customer-Centric คือแนวคิดการวางผู้บริโภค ผู้รับสารเป็น ‘ศูนย์กลาง’ การสร้างสรรค์คอนเทนต์
https://thestandard.co/get-to-know-storytelling-canvas/

ให้ลองตอบคำถาม 14 ข้อนี้ให้ได้ก่อน ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ประสบความสำเร็จ

ข้อ 1-9 เป็นกระดูกสันหลังของเรื่อง และข้อ 10-14 จะเป็นในส่วนเล่าเรื่อง ตั้งแต่ต้น กลาง จบจนเรื่อง จะกล่าวถึงรายละเอียดในบางข้อกัน

อันนี้เราจะจดเพิ่มเติมจากในรูปเนอะ

  • ข้อ 2 Unique Selling Point อันนี้กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว
  • ข้อ 5 Mood & Tone ให้นึกถึงรูปน้อนแมวกับ Wikipedia
  • ข้อ 6 Key Message ให้มี key message เดียว อย่ามีเยอะ เพราะเรื่องมันจะซับซ้อนเกินไป มีเพียง 1 big idea อาจจะมี sub plot หรือไอเดียรองได้ เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่คนฟังรับไปจากเรา และจะแข็งแรงกว่า คนไม่สับสนในสิ่งที่เราเล่า
  • ข้อ 10 Before เขามีความรู้หรือความรู้สึกในเรื่องนี้อย่างไร สัมพันธ์กับ Introduction เปิดเรื่องให้สนุกและแตกต่าง
  • ข้อ 12 AHA! Moment จุดไคลแมกซ์ที่คนคาดไม่ถึง
  • ข้อ 13 Conclusion สรุปจบให้กินใจ, มี after test, คนจะจำตอนสุดท้าย ให้ออกแบบตอนจบดีๆ
  • ข้อ 14 After สิ่งที่ทำออกมานั้น สอดคล้องกับข้อ 1, 6, 10 หรือไม่

Selling and Telling Your Story

เอารูปในสไลด์คุณเคนมาหาอีกหล่ะ ref: https://www.thedualarity.com/wp-content/uploads/Selling-and-Telling-Your-Story.png

Shoot for the Heart : ถ้าคิดอะไรไม่ออก ใช้หัวใจในการเล่าเรื่องที่เราอิน คนจะสัมผัสได้ มีการส่งผลต่อพลังและความรู้สึก

Capture the Mind : เราจะต้องรู้จักและเข้าใจคนฟัง

Make them Smile : มี emotional คนไม่ได้เสพ content เพื่อความรู้ แต่เสพเพื่อความสนุกมากกว่า

สุดท้ายตอนจบ ให้เราสนุกกับการทำ content

Q&A

อันนี้ไม่ได้จดทุกข้อนะ เท่าที่จำได้ แหะๆ

  • ฟัง feedback จากคนรอบข้างนำมาปรับปรุงตัวเอง
  • The Secret Sauce ของ The Secret Sauce คือ การฝึกฝนอยู่เสมอ
  • เมื่อเกิดดราม่าทำอย่างไรดี? ในเรื่อง drama ต้องแยกให้ออกว่ามันเป็น noise หรือ voice ซึ่ง noise คือเสียงรบกวน ส่วน voice คือคำวิจารณ์ และมี impact กับตัวเราและการทำงานของเรา สิ่งที่ต้องรีบทำก็คือขอโทษ แม้เราอาจจะไม่ใช่คนผิดก็ตาม เพราะเรื่องเกิดที่เรา และขอบคุณสำหรับ feedback ที่ได้รับ

กิจกรรมตอบคำถามก่อนเบรก

ทีมงานใช้ menti ซึ่งมันก็คล้ายๆตัว kahoot นั่นแหละ แต่มี UI ที่แตกต่างกัน

ในตัวคำถามเหมือนทบทวนสิ่งที่ได้ฟังมา เหมือน Retrieval Practice เลยแหละ แต่ของรางวัลคือแรงกระตุ้น แหะๆ

เราขอแปะรูปเลยแล้วกันเนอะ จะได้เห็น UI ตอนเฉลยด้วย จะเป็นกราฟแบบนี้

ซึ่งข้อแรกเราตอบไวได้ Top10 จริงๆเราตอบถูกทุกข้อแต่ไม่ไวเท่าเขาง่ะ มุแงงงง

ระหว่างเบรก แอบแว่บหาพี่ตี๋พี่แทน ที่กำลังไลฟ์ Sunday Coding ที่ทำเสร็จไว 10 คนแรกได้เสื้อ collection ใหม่จากทาง LINE Developer ไป ได้แต่แวะมาตบมุขในแชทไลฟ์ถ้าพี่ๆจะเล่นมุขเท่านั้นเอง ;_; ใน 10 นาทีทำได้เท่านี้จริงๆ ฮือออออ

ไปฟังพี่ๆเขาเล่นมุข เอ้ยย สอน ได้ที่ https://www.facebook.com/watch/live/?v=257723026040227

Workshop

ให้ลงมือทำ Storytelling Canvas ของคุณเคน มีเวลาทำ 50 นาที ในหัวข้อ "สร้างคอนเทนต์แชร์ประสบการณ์การใช้เงินที่คุ้มค่าที่สุดในชีวิตของคุณ"

ทีมงานแบ่งคนไปห้อง breakout room ที่กำหนด 4 ห้อง เราอยู่ห้องสุดท้ายเลย แต่ละห้องมี TA ช่วยเรา แต่ละคนก็จะทำงานกันไปเงียบๆ เพราะจริงๆเวลาไม่เยอะเลยในการคิดงานให้ทันเวลา ช่วงตอนประมาณสี่โมงยี่สิบมั้งนะ คุณบูมเข้ามาในห้อง ทางนี้คือเอ่อออปั่นงานก่อนยังไม่มีคำถามใดๆ ;_; แต่ก็มีคนถามบ้างแหละประปรายแหละ สิบนาทีนี้เราได้แต่ปั่นงานจริงๆแต่ก็ฟังอยู่แหละเนอะ

จากนั้นเอางานที่ทำไปแปะใน event workshop

อันนี้ที่เราทำส่งไป

เมื่อไล่ดูพบว่า เจอคนคิดเหมือนเราประมาณ 3-4 คนใน content เลือกซื้อ online course -_- จริงๆอยากหยิบประสบการณ์การซื้อแอพ Procreate มา แต่ยังไม่มีจุดพีคแบบทำงานแล้วได้เงินจริงๆอ่ะ นอกจากเอาไปทำ content crypto แล้วคนแชร์กันเยอะๆอ่ะ

อันนี้ที่ list ไว้คร่าวๆ

เมื่อหมดเวลาส่งงาน ทีมงานจะคัดเลือกอันที่น่าสนใจให้คุณบูมกับคุณเอ็มฟังและคอมเมนต์ มีเรื่องที่น้องคนนึงไปเรียนที่จีนแล้วอยากกลับประเทศ, มีพี่คนนึงแชร์ประสบการณ์การ subscription แอพดูหนังทุกแอพเป็นเวลา 1 เดือน, เรื่องการประหยัดกระดาษทิชชู่ มั้งนะ ยังงงๆ, และพูดถึงเงิน 500 บาทที่อาจจะเป็นเงินก้อนสุดท้ายของบางคน บลาๆ อันนี้จำไม่ค่อยได้

โดยแต่ละอันที่หยิบมาจะมี AHA Moment ที่น่าสนใจ

Q & A กับคุณบูม ก่อนจบงาน

  • “ในช่องของคุณบูมมี Contents ที่หลากหลาย และต่างกัน อยากทราบว่าคุณบูมมีตารางการลง Contents ยังไงให้ช่อง ไม่จับฉ่าย และคนดูไม่สับสนกับตัวตนของเราครับ" : ทำ content แต่ละวันให้แต่ละกลุ่ม เป็นตารางลง content เองว่าลงวันไหนของสัปดาห์ และเราต้องสมํ่าเสมอกับ content แต่ละประเภท ให้มองเหมือนช่อง TV ช่องนึง
  • "อยากจะขอสอบถามหน่อยครับว่า เวลาทำคอนเทนต์ที่มี ความต่อเนื่อง (แบบหลายตอนต่อเนื่อง) หรือเป็น online campaign เทคนิคแนะนําไหมครับว่าจะวางแพลนคอนเทนต์ ยังไงให้เป็น sequences ไปแบบเป็นเรื่องราวภาพใหญ่น่ะครับ ขอบคุณครับ" : ใส่เลขตอนกำกับให้เหมือนซีรีส์ หรือจะไม่ใส่เลขตอนก็ได้ หรือจะจัด playlist ให้เข้าหมวดกัน สุดท้ายอยู่ที่เราสื่อสารกับคนดูยังไง
  • "รบกวนฝากคำถามค่ะ ในกรณีที่เนื้อหาของเราเป็นเนื้อหา ค่อนข้างเฉพาะกลุ่มมาก ๆ มีวิธีทำยังไงให้เนื้อหามันแมส พอที่จะให้คนทั่วไปก็อ่านรู้เรื่อง และรู้สึกอินไปกับเนื้อหาที่เรา ทําคะ?" : วิธีการ หาจุดบางอย่างในเรื่องที่ใกล้ตัวกับคนหมู่มาก ถ้าจากใน storytelling canvas ช่อง before เขารู้อะไรกับเรื่องนี้บ้าง ถ้่ไม่มีให้เริ่มดูจากจุดนี้ก่อน เช่น content อสังหา คนดูจากราคาจะเข้าใจได้ง่ายกว่า เพราะคำว่าหรูของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

สิ่งที่คุณบูมฝากไว้ : ต้องลองลงไปทำดู เมื่อแก้ปัญหาก็ค่อยๆแก้ไขกันไป มันจะวนไปเรื่อยๆ เราจะรู้ว่าอะไรที่เราทำแล้ว work ทำต่อไปได้หรือไม่ work

ก่อนจบงานมีการสรุป workshop แล้วก็เกี่ยวกับ TMRW เพื่อเอาไปทำ assignment ในครั้งต่อไปด้วยหล่ะ

บล็อกนี้ขอจบเพียงเท่านี้ รออ่านบล็อกงานในสัปดาห์ที่ 2 3 และ 4 กันด้วยนะ โดยสัปดาห์ถัดไปเป็นเรื่อง Creative Content สัปดาห์ที่ 3 คือ Video Production ยิ่งสัปดาห์ที่ 4 น่าจะเหมาะกับสายงานเรา ที่ชอบมี onlune event กันบ่อยๆกับเรื่อง Live Streaming นั่นเอง


download แอพอ่านบล็อกใหม่ของเราได้ที่นี่

MikkiPastel - Apps on Google Play
First application from “MikkiPastel” on play store beta feature- read blog from https://www.mikkipastel.com by this application- read blog content by chrome custom tab- update or refresh new content by pull to refresh- share content to social network
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mikkipastel.blog

ติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆได้ที่

อย่าลืมกด like กด share บทความกันด้วยนะคะ :)

Posted by MikkiPastel on Sunday, 10 December 2017

ช่องทางใหม่ใน Twiter จ้า

และ YouTube ช่องใหม่จ้า

mikkicoding
Android Developer & Content Creator
https://www.youtube.com/channel/UCtGbMSe4i7NJiKQ271Fezcg

Tags

Minseo Chayabanjonglerd

I am a full-time Android Developer and part-time contributor with developer community and web3 world, who believe people have hard skills and soft skills to up-skill to da moon.